วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

วัคซีนป้องกัน IPD(Invasive Pneumococcal Vaccine)การติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดลุกลาม

วัคซีนป้องกัน IPD(Invasive Pneumococcal Vaccine)การติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดลุกลาม


เชื้อนิวโมคอคคัสคืออะไร

เชื้อนิวโมคอคคัส ชื่อเต็มคือ สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี่ เชื้อโรคชนิดนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อในเด็ก มักพบการติดเชื้อนี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและพบการติดเชื้อรุนแรงในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี

การติดเชื้อนี้แสดงอาการของโรคได้ 3 แบบคือ

1.การติดเชื้อแบบรุนแรง ลุกลาม แพร่กระจาย(IPD)ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง

2.การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ ปอดอักเสบและการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนล่างตั้งแต่กล่องเสียงลงไป

3.การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ คออักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ

เชื้อชนิดนี้พบเป็นพาหะอยู่ที่โพรงจมูกและคอในเด็ก ทำให้เกิดการแพร่เชื้อสู่ชุมชนได้ เชื้อชนิดนี้นอกจากก่อโรคในเด็กแล้วยังทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงได้ในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี

โรคIPD รักษาได้หรือไม่

การติดเชื้อ นิวโมคอคคัส สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงเช่นคออักเสบ หูน้ำหนวกหรือไซนัสอักเสบสามารถให้ในรูปแบบยารับประทานได้ แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อแบบลุกลาม(IPD)ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยในและให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดพร้อมกับการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นเช่นเรื่องการหายใจ ยากันชักเป็นต้น

การติดเชื้อแบบลุกลามจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเช่น การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง อาจทำให้เด็กชัก เกิดความพิการของสมอง ปัญญาอ่อนได้ ถึงแม้ว่าโรคIPDจะรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะแต่ปัจจุบันพบว่าเชื้อนิวโมคอคคัสบางสายพันธุ์มีการดื้อยา(การดื้อยาหมายถึงเชื้อโรคมีการปรับตัวเองทำให้ยาปฏิชีวนะที่เคยใช้ได้ผลกลับไม่ได้ผลต้องใช้ยาปฏิชีวนะขั้นสูงขึ้น) ทำให้การรักษาลำบากมากขึ้นและหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้



เด็กกลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้

เด็กที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ได้แก่

-เด็กที่มีสุขภาพดีอายุน้อยกว่า 2 ปี

-เด็กที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคตับเรื้อรัง

-เด็กไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานไม่ดี

-เด็กที่อยู่สถานเลี้ยงเด็กกลางวัน

-เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

-เด็กที่มีน้ำไขสันหลังรั่ว

วัคซีนป้องกันIPD คืออะไร

เนื่องจากในประเทศไทย วัคซีนชนิดนี้ยังค่อนข้างใหม่อยู่ จึงยังไม่ได้ มีการศึกษาการตอบสนองของวัคซีนนี้ในเด็กไทย เช่นในประเทศอเมริกา มีการใช้วัคซีนนี้ตั้งแต่ปีค.ศ.1998 โดยเด็กทุกคนจะได้รับวัคซีนป้องกันIPD ตอนอายุ2 ,4, 6 และ12-15 เดือน มีการเก็บข้อมูลผลของการให้วัคซีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998-2003

พบว่าอัตราการติดเชื้อแบบลุกลามลดลงเรื่อยๆ อัตราการเกิดปอดอักเสบและหูชั้นกลางอักเสบก็ลดลงด้วย นอกจากนั้นยังพบว่าการเป็นพาหะก็ลดลงด้วย การแพร่เชื้อในชุมชนลดลง ผู้ฬหญ่กลุ่มอายุมากกว่า 65 ปี มีอัตราการติดเชื้อลดลงด้วย

สรุปผลของวัคซีนคือ

1.ลดการเกิดIPD ในเด็กเล็ก

2.ลดการเกิดIPDในผู้สูงอายุ

3.ลดเชื้อในโพรงจมูกและลำคอของเด็กทำให้ลดการแพร่เชื้อสู่ชุมชน

วัคซีนป้องกันIPDป้องกันโรคได้ดีแค่ไหน

วัคซีนนี้ครอบคลุมเชื้อก่อโรคได้ 7 สายพันธุ์ คือ 4,6B,9V,14,18C,19Fและ23F พบว่าครอบคลุมสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของโรคในเด็กไทยได้ประมาณ 70%(จากข้อมูลการเก็บตัวอย่างเชื้อจาก4 โรงพยาบาล) วัคซีนนี้แนะนำให้ฉีดในเด็กอายุ 2,4,6และ 12-15 เดือน(4 ครั้ง ตามการฉีดของต่างประเทศ)

สำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงเช่นเด็กที่ไม่มีม้ามแนะนำให้ฉีดตามด้วยวัคซีน PS23หลังอายุ 2 ปีด้วย

ผลข้างเคียงของวัคซีนที่พบคือ อาจมีบวมแดงบริเวณที่ฉีด มีไข้

ในอนาคตอาจมีวัคซีนที่สามารถตรอบคลุมสายพันธุ์ก่อโรคได้มากขึ้นซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย

ความจำเป็นของวัคซีนป้องกันIPD ในเด็กไทย

ในเด็กไทยอุบัติการณ์ของการเกิดIPD มีน้อยกว่าในต่างประเทศ ยังไม่มีการศึกษาการตอบสนองของวัคซีนนี้ในเด็กไทย ทำให้ยังไม่ทราบว่าเด็กไทยควรได้รับการฉีดกี่ครั้งจึงจะเหมาะสม คำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กคีอ ให้ฉีดวัคซีนชนิดPCV 7 ตามคำแนะนำของต่างประเทศคือ อายุ2,4,6และ12-15 เดือน(4ครั้ง) ส่วนเด็กที่มีความเสี่ยงต่อIPD มากเช่นไม่มีม้าม หลังฉีดวัคซีนแล้วยังจำด)นต้องกินยาปฏิชีวนะป้องกันเหมือนเดิม เพราะวัคซีนยังไม่ครอบคลุมทุกสายพันธุ์ของเชื้อนี้ ปัญหาใหญ่ของวัคซีนคงเป็นเรื่องราคาที่ค่อนข้างสูง วัคซีน PCV7 ราคาเข็มละประมาณ 4,200 บาทจะฉีดกี่ครั้งให้ดูตามอายุที่เริ่มฉีดตามตารางด้านล่าง

ความจำเป็นที่บุตรหลานสมควรจะได้รับวัคซีนหรือไม่ คงอยู่ในดุลยพินิจของคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง แพทย์เป็นฝ่ายให้ข้อมูลของโรคและวัคซีน บทความนี้ได้รวบรวมความรู้ของโรคนี้มาพอสมควร คุณพ่อคุณแม่สามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมจากกุมารแพทย์ที่ดูแลบุตรหลาน

วัคซีนป้องกันไอ พี ดี
ป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสตารางการฉีดคือ
ฉีดตรั้งที่ เมื่ออายุ

1 2 เดือน

2 4 เดือน

3 6 เดือน

4(กระตุ้น) 12-15 เดือน



สำหรับเด็กที่อายุตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป



ตารางการฉีดวัคซีน

อายุที่เริ่มฉีด จำนวนครั้ง ระยะห่าง

7-11เดือน 3 ครั้งที่1,2ห่างกัน1-2เดือน ครั้งที่ 3ห่างกัน2เดือน

12-23เดีอน 2 ครั้งที่1,2ห่างกันอย่างน้อย 2 เดือน

24 เดือน-9 ปี 1 ฉีดครั้งเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น