วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

'1,000 วันสำคัญสุด' ดูแลใกล้ชิดช่วยลูกฉลาดได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

 
'1,000 วันสำคัญสุด' ดูแลใกล้ชิดช่วยลูกฉลาดได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนามาตรฐานการรักษาและการบริการที่มีประสิทธิภาพด้านเด็ก ในโอกาสฉลองครบ 9 ปี และก้าวย่างสู่ปีที่ 10 ของ รพ.เด็กสมิติเวชศรีนครินทร์ โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะสำหรับเด็กแห่งแรกในประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อฉลองในโอกาสดังกล่าวตลอดเดือน พ.ย. และในวันเปิดงานได้รับพระกรุณาธิคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงเป็นประธาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำหรับเหตุผลที่ รพ.เด็กสมิติเวชฯ

ให้ความสำคัญของการดูแลรักษาบุตรหลานวัยซน พญ.สุรางคณา เตชะไพฑูรย์ รอง ผอ.รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ เผยว่า ลูกเป็นสิ่งมีค่ายิ่งสำหรับพ่อแม่ ที่ต้องเตรียมพร้อมในทุกด้าน เพราะชีวิตหนึ่งเจริญเติบโตขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งในเรื่องนี้สมาคมกุมารแพทย์อเมริการะบุว่า 1,000 วันสำคัญที่สุด นับตั้งแต่อยู่ในท้อง 9 เดือน ที่สมองเติบโตทุกส่วน บวกกับเวลาโตเป็นทารกและเด็กเล็กอีก 2 ปี เท่ากับ 1,000 วันพอดี เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์จำเป็นต้องมีสูตินารีแพทย์เป็นที่ปรึกษา

นอกจากนี้ในวันเปิดกิจกรรมยังจัดเสวนาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการสร้างศักยภาพทางสมองให้ลูกน้อยในหัวข้อ “ความฉลาดเริ่มได้ตั้งแต่ในครรภ์” ไว้เป็นคำแนะนำให้ผู้ปกครองที่สนใจนำไปปฏิบัติ นพ.มฆวัน ธนะนันท์กูล จากศูนย์ผู้มีบุตรยาก รพ.เด็กสมิติเวชฯ กล่าวว่า เวลาผู้หญิงจะแต่งงานคิดแต่เรื่องจัดงานอย่างไร แต่หมออยากให้คิดไกลกว่านั้น โดยเฉพาะเรื่องการวางแผนมีลูก จะทำอย่างไรให้ลูกเกิดมาปลอดภัยจากโรคหรือความผิดปกติทางพันธุกรรมต่าง ๆ เรื่องที่ควบคุมได้ไม่ให้ลูกต้องเผชิญกับความเสี่ยงคือ การตรวจร่างกายทั้งพ่อและแม่หาโรคและพาหะ เช่น ธาลัสซีเมีย ไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส เอดส์ การสอบถามโรคทางพันธุกรรมจากญาติพี่น้อง การงดกินยาที่เป็นอันตรายต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ งดการฉายรังสีหรือสัมผัสรังสี แม้แต่การไปเที่ยวต่างประเทศแล้วเจอเชื้อโรคแปลก ๆ ก็ไม่ควร นอกจากนี้ยังต้องระวังเรื่องสัตว์เลี้ยงด้วย เพราะอุจจาระมีพยาธิทำให้เด็กพิการได้ รวมทั้งการเจ็บป่วยระหว่างตั้งครรภ์ก็ต้องระวัง

“ความหวังของพ่อแม่นอกจากลูกครบ 32 แล้ว ก็อยากให้ลูกเป็นเด็กเก่งและฉลาด ซึ่งความคาดหวังดังกล่าวสามารถทำได้จริง ไม่ต้องรอให้ธรรมชาติเป็นผู้กำหนด และเริ่มทำได้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ โดยปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่าก่อนท้องควรทำอย่างไร เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือน ตรวจมะเร็งปากมดลูก อัลตราซาวด์หาเนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก หรือถุงน้ำในรังไข่ เพราะถ้าเกิดท้องแล้วต้องผ่าตัดจะมีความเสี่ยงสูง ข้อแนะนำอีกอย่างคือให้คุณแม่กินโฟเลทวันละเม็ดจะช่วยลดอัตราเสี่ยงเรื่องระบบไขสันหลังและสมองพิการของลูก”

ด้าน นพ.สุรเชษฐ์ อภินิลบงกช แพทย์สูตินารีผู้เชี่ยวชาญการดูแลหญิงตั้งครรภ์จากโรงพยาบาลเดียวกัน แนะนำว่า เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ควรรีบฝากครรภ์กับแพทย์ที่เชี่ยวชาญ เนื่องจากหัวใจของกระบวนการฝากครรภ์คือการหาภาวะเสี่ยงให้เจอก่อนเหตุเกิด สถิติคนท้อง 100 คนแท้งก่อน 20 คน พอผ่านภาวะดังกล่าวมาได้ร้อยละ 10 จะมีอาการครรภ์เสี่ยงสูง ถ้าดูแลไม่เพียงพอคุณแม่อาจมีภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นอันตรายต่อแม่และเด็กในท้องได้ การฝากครรภ์ที่มีคุณภาพคือ การคัดกรองหาความเสี่ยงทั้งแม่และเด็ก ควรทำอัลตราซาวด์หนึ่งครั้งทุกไตรมาสการตั้งครรภ์ ครั้งแรกเพื่อตรวจให้รู้ว่าท้องกี่เดือน มีภาวะท้องนอกมดลูก ท้องลมหรือเปล่า สู่ไตรมาสที่ 2 ตรวจหาความผิดปกติทางโครงสร้างร่างกายและอวัยวะภายใน ส่วน 3 เดือนสุดท้ายรกเริ่มเสื่อมน้ำคร่ำเริ่มน้อย ต้องดูว่าไปขัดขวางพัฒนาการของเด็กหรือไม่ ถ้าอันตรายจำเป็นต้องผ่าออกจะดีกว่า.

ที่มา
http://www.dailynews.co.th/society/167756

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เผย 7 ทักษะพื้นฐานที่พ่อแม่ยุคใหม่อาจไม่มีเวลาสอนลูก


เผย 7 ทักษะพื้นฐานที่พ่อแม่ยุคใหม่อาจไม่มีเวลาสอนลูก

อาจเป็นเพราะปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ในยุคนี้ต้องเร่งทำงานหาเงินกันหนักขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้ครอบครัวสามารถเดินหน้าต่อไปได้ แต่ท่ามกลางความบีบคั้นทางสังคมนั้นก็มีการสำรวจพบว่า บางกิจกรรมที่ดูจะเป็นเรื่องง่าย ๆ และพ่อแม่ในอดีตเคยเป็นผู้ถ่ายทอดทักษะให้กับลูก ๆ นั้น พ่อแม่สมัยนี้ไม่มีโอกาสและเวลาที่จะมาสอนลูก ๆ ของพวกเขาได้อีกต่อไปแล้ว
      
       จากการสำรวจความคิดเห็นของพ่อแม่ชาวอังกฤษกว่า 1,000 คนโดยเว็บไซต์ yano.co.uk พบว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่อ้างเหตุผลหน้าที่การงานรัดตัวจนไม่สามารถมีเวลาว่างมาดูแลลูก ๆ ได้ อีกทั้งยังละเลยที่จะสอนพื้นฐานง่าย ๆ ในชีวิตให้กับลูกด้วย พื้นฐานเหล่านั้นได้แก่ การอ่านหนังสือกับลูก การสอนลูกเขียนหนังสือ การสอนลูกข้ามถนนอย่างปลอดภัย การสอนการนับเวลา การสอนขี่จักรยาน การสอนผูกเชือกรองเท้า และการเล่นวิ่งไล่จับนั่นเอง โดยพ่อแม่ทำงานยุคใหม่ยอมรับว่าชีวิตพวกเขายุ่งมากเกินกว่าจะมาจับงานที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้ และพ่อแม่กว่าครึ่งหนึ่งเลยทีเดียวที่ต้องการผลักภาระการสอนทักษะเหล่านั้นให้กับครู และโรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบแทน
      
       ไม่เพียงเท่านั้น พ่อแม่ถึง 3 ใน 5 ยังเผยด้วยว่า พวกเขาเหนื่อยกับงานเกินกว่าจะสอนลูกแปรงฟัน อ่านหนังสือกับลูก และสอนถึงการข้ามถนนอย่างปลอดภัยให้ลูกด้วย
      
       ขณะที่งานบ้านเช่น การซักผ้า ทำความสะอาดบ้านกลับได้รับความสำคัญเหนือกว่า โดยพ่อแม่ 6 ใน 10 ยอมรับว่า การทำงานบ้านสำคัญกว่าการสอนลูกแต่งตัวเสียอีก
      
       อย่างไรก็ดี ทักษะที่พ่อแม่ยุคนี้ต้องการให้ลูกมีมากที่สุดสามอันดับแรกคือ การอ่าน การเขียน และการข้ามถนนอย่างปลอดภัย โดยพ่อแม่เกือบครึ่ง (47 เปอร์เซ็นต์) ยอมรับว่า หน้าที่เหล่านั้นส่วนหนึ่งได้คุณครูที่โรงเรียนช่วยสอนมาบ้างแล้ว และถึงมันจะไม่เพียงพอ แต่ก็ยังดีกว่ารอให้พ่อแม่มาสอน ซึ่งทางผู้สำรวจเผยด้วยว่า มีพ่อแม่กว่าครึ่งทีเดียวที่รู้สึกผิดจากปัญหาดังกล่าว
      
       แอน-มารี แมคคิมม์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Yano เผยว่า
       "เรามาถึงยุคที่พ่อแม่มีชีวิตที่ยุ่งมากจนไม่มีเวลาให้กับลูก ๆ แถมคนเป็นพ่อแม่เองยังหลงแข่งขันกับสังคมนอกบ้าน เช่น ต้องมีบ้านหลังใหญ่ ๆ มีเฟอร์นิเจอร์พร้อมมูล บ้านเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงการมีลูกที่ฉลาดและสามารถพาไปอวดใครต่อใครได้ จึงจะถือว่าตนเองเป็นพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่พ่อแม่กลุ่มนี้จะหลงไปกับสิ่งนอกกายจนลืมที่จะดูแลลูก และพัฒนาลูกในสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตพวกเขา"
      
       สำหรับประเทศไทย อย่าปฏิเสธว่าเราไม่ได้เดินตามกระแสข้างต้น เพราะคนเป็นพ่อแม่ทั้งหลายต่างทราบดีกว่า ครอบครัวของไทยเองก็เผชิญกับการบีบคั้นจากภาวะดังกล่าวไม่แตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเศร้า และควรได้รับการหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้น ๆ ของการพัฒนาประเทศเลยทีเดียว เพราะอย่าลืมว่า เด็กจำเป็นต้องมีทักษะเพื่อการมีชีวิตรอดในโลกใบนี้ และหากคนที่รักพวกเขามากที่สุดอย่างพ่อแม่ยังไม่มีเวลา สุดท้าย เราจะได้ประชากรแบบใดมาอยู่ร่วมกันในอนาคต คงไม่ยากที่จะคาดเดา

ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000140598

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เผย 3 ต้นเหตุ “ชีวิตขี้เกียจตัวเป็นขน” ของเด็กยุค 2012


เผย 3 ต้นเหตุ “ชีวิตขี้เกียจตัวเป็นขน” ของเด็กยุค 2012

เป็นสิ่งที่พบเห็นจนชินตาของผู้ที่อยู่ในเมืองหลวง หรือหัวเมืองใหญ่ๆ กับภาพของเด็กเล็กที่นั่งอยู่ในรถเข็นคันกะทัดรัด แม้จะมาพร้อมพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือพี่เลี้ยง แต่บางครั้งเด็กก็อาจไม่มีโอกาสเดิน หรือลงมาคลานกับพื้นแต่อย่างใด กิจกรรมที่ทำได้บนรถเข็นคันเล็กๆ อาจมีเพียงการนั่งนิ่งๆ และหันมองบางสิ่งบางอย่างที่เด็กคิดว่าน่าสนใจ และใครๆ ต่างก็เห็นว่าดีที่เด็กอยู่เป็นที่เป็นทาง แต่หารู้ไม่ว่า ไลฟ์สไตล์ดังกล่าวนี้กำลังสร้างเด็กพันธุ์ใหม่ที่มีพัฒนาการทางร่างกายถดถอยลง!
      
       โดยการศึกษาจาก The Institute for Neuro-Physiological Psychology ในเมืองเชสเตอร์ ที่ได้ทำการทดสอบความสามารถทางร่างกายของเด็ก 60 คน (อายุ 4-5 ปี) ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเวสต์มิดแลนด์ พบว่า 1 ใน 3 ของเด็กกลุ่มนี้ประสบปัญหาไม่สามารถปฏิบัติในสิ่งที่นักวิจัยขอให้ทำ เช่น การยืนทรงตัวบนขาข้างเดียว 3 วินาที หรือการคลานในระยะทางสั้นๆ ได้อย่างที่ควรจะเป็น
      
       หากพิจารณาจากวิถีชีวิตของเด็กกลุ่มนี้ พบว่า มี 3 ปัจจัยที่ส่งผลอย่างมาก ได้แก่ การนั่งในรถเข็นเด็ก - คาร์ซีท, การรับชมรายการทีวี - เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และการเรียนที่มุ่งเน้นผลการเรียนมากเกินไป
      
       คำอธิบายก็คือ เพราะการใช้เวลาอยู่นิ่งๆ ในรถเข็น หรือนั่งนิ่งๆ หน้าจอทีวี ฯลฯ มากเกินไปส่งผลต่อร่างกายของเด็กๆ ที่เรารักในด้านต่างๆ เช่น ทำให้กล้ามเนื้อไม่พัฒนา ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใดๆ ได้นาน และทำให้การละเล่นสนุกๆ ที่พ่อแม่เคยเล่นสมัยเด็กอย่างวิ่งไล่จับ วิ่งเปี้ยว กระโดดยาง กระต่ายขาเดียว ฯลฯ เด็กยุครถเข็นอาจไม่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงพอจะเล่น หรือสนุกไปกับมันได้เหมือนยุคพ่อแม่อีกแล้วก็เป็นได้
      
       นอกจากนั้น นักวิจัยยังได้ให้เหตุผลว่า อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้เด็กขาดโอกาสที่จะปีนป่ายซุกซนตามประสาเด็ก เช่น การวิ่ง กระโดด ม้วนตัว กลิ้งไปมา คลาน ซึ่งสามารถช่วยพัฒนากล้ามเนื้อไปอย่างน่าเสียดาย และอาจส่งผลถึงการเรียนของเด็กในอนาคตด้วย แต่ส่วนหนึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเพราะพ่อแม่สมัยนี้ห่วงเรื่องความปลอดภัย เกรงว่า ลูกจะได้รับบาดเจ็บจากการหกล้ม ตกจากที่สูง จึงคอยห้ามลูกอยู่เรื่อย ๆ หรือหาเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกอยู่นิ่งๆ มาใช้เพื่อจะได้มั่นใจว่าลูกจะปลอดภัยที่สุดนั่นอง
      
       ขณะที่อีกต้นเหตุของการทำให้เด็กไม่ได้เคลื่อนไหวอย่างเพียงพอ ก็คือ การแข่งขันด้านผลการเรียนของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทัศนคติเช่นนี้ทำให้เด็กมีชั่วโมงเรียนมากขึ้น รวมถึงต้องนั่งทำการบ้านมากขึ้น จึงขาดโอกาสเล่นตามประสาเด็กไปนั่นเอง

ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000137849

ฝึก 9 ข้อ สอนลูกรับมือภัยร้ายในชีวิตประจำวัน

ฝึก 9 ข้อ สอนลูกรับมือภัยร้ายในชีวิตประจำวัน/สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน


ดูเหมือนสถานการณ์ภัยร้ายในยุคปัจจุบันจะเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงทุกขณะ และกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดก็หนีไม่พ้นเด็กและสตรีที่มักกลายเป็นเหยื่อของภัยร้ายในชีวิตประจำวัน
      
        ท่ามกลางสถานการณ์ข่าวร้ายๆ ที่เกิดขึ้นทุกวี่วัน จึงอยากชวนพ่อแม่ ผู้ปกครองหันมาตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้อง ดูแล และป้องกันไม่ให้ลูกหลานของเราตกเป็นเหยื่อของภัยร้ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งต้องเริ่มอย่างจริงจังได้แล้ว
      
       พ่อแม่ควรเตรียมตัวและรับมืออย่างไร ?
      
       ประการแรก – สอนให้ลูกเข้าใจถึงเรื่องความปลอดภัย และไม่ปลอดภัยในชีวิตประจำวัน อย่าคิดว่าลูกเล็กเกินไปไม่เข้าใจ แต่ให้ดูวัยของเขาและสอนให้เหมาะกับวัย ให้ลูกได้เรียนรู้อย่างเหมาะสม และฝึกให้ลูกระมัดระวังตัว ถ้าเป็นเด็กเล็ก ต้องฝึกไม่ให้ลูกไปกับคนแปลกหน้าหรือรับของจากคนแปลกหน้า ฝึกลูกปฏิเสธให้เป็น หรือสอนให้ลูกได้เรียนรู้ว่าในสังคมมีทั้งคนดีและไม่ดี ฯลฯ
       
       ประการที่สอง – เมื่อลูกเริ่มโต ควรสอนให้ลูกเรียนรู้เรื่องการป้องกันตัวเอง เรียนรู้ศิลปะการป้องกันตัว อาจหยิบยกสถานการณ์ให้ลูกคิดตามก็ได้ เช่น ถ้าเกิดสถานการณ์เช่นนี้ ลูกจะทำอย่างไร และชวนกันคิดต่อไปเรื่อยๆ ด้วยการสมมติสถานการณ์ที่อาจเป็นข่าวด้วยก็ได้ อย่าคิดว่าไม่มีทางเกิดขึ้นกับลูกเราเด็ดขาด แต่ควรสอนให้ลูกได้เรียนรู้ว่ามันอาจเกิดขึ้นกับเราก็ได้ แล้วถ้าเกิดขึ้นเราควรทำอย่างไรต่างหาก
      
        ประการที่สาม – ฝึกให้ลูกเป็นเด็กสังเกตสิ่งรอบตัว ต้องยอมรับว่า เด็กในยุคสมัยก่อน เป็นเด็กที่มีความสังเกตสิ่งรอบตัวมากกว่าเด็กในยุคปัจจุบัน เพราะเด็กยุคนี้มักจะหมกมุ่นอยู่กับเทคโนโลยี เวลาอยู่ในที่สาธารณะหรืออยู่บนรถ เรียกว่าแทบจะทุกหนทุกแห่ง เราจะเห็นเด็กจดจ่ออยู่กับโทรศัพท์มือถือ และไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ซึ่งทำให้บรรดาพวกมิจฉาชีพสบโอกาสในการทำสิ่งไม่ดีได้ง่าย
      
        ประการที่สี่ – ฝึกให้ลูกจดจำสิ่งต่างๆ ที่จำเป็น ทั้งโทรศัพท์ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือจำสถานที่ตั้งของบ้าน รวมไปถึงฝึกการจดจำสถานที่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญ เผื่อว่าเกิดเหตุการณ์ใด แล้วสามารถบอกจุดต่างๆ ได้ เช่น จดจำชื่อซอยบ้านตัวเอง วิธีสังเกต หรือเวลาขึ้นรถแท็กซี่ควรจะจดหรือจำหมายเลขทะเบียนรถ และมองหน้าคนขับรถว่ามีจุดสังเกตใดที่จดจำได้ง่าย เมื่อฝึกเรื่อยๆ เด็กก็จะเรียนรู้และหมั่นจดจำได้โดยอัตโนมัติ
      
        ประการที่ห้า – ฝึกให้ลูกมีสติ เพราะเวลาเกิดเหตุใดขึ้นมา ถ้าขาดสติ ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาใดๆ ได้ หรืออาจจะเป็นอันตรายด้วยซ้ำ ยกตัวอย่าง กรณีที่เคยเกิดขึ้นเมื่อต้นปีที่โจรขโมยรถแล้วไม่รู้ว่ามีเด็กนอนอยู่ท้ายรถ แต่เด็กคนนั้นตั้งสติได้ดีมาก รีบปรับโทรศัพท์มือถือจากเสียงเป็นสั่นทันที เพราะรู้ว่าเดี๋ยวแม่ต้องโทรเข้ามาหาตัวเองแน่ แล้วใช้วิธีส่งข้อความหาแม่ว่าตอนนี้โจรขับรถผ่านที่ใดบ้าง และอาศัยช่วงที่โจรจอดรถ รีบวิ่งลงไปที่ร้านค้า แล้วแจ้งให้คนช่วยเหลือ จนสามารถรอดปลอดภัยได้ ตรงกันข้าม ถ้าเด็กคนนี้ขาดสติ เมื่อเห็นโจรขโมยรถแล้วเกิดร้องตะโกน เพราะกลัว เมื่อโจรเห็นก็อาจกลายเป็นอันตรายได้
      
        ประการที่หก – ฝึกให้ลูกระมัดระวังในการรับสื่อ อย่าปล่อยให้ลูกดูทีวีโดยลำพัง พ่อแม่ควรจะอยู่ด้วยและอรรถาธิบายให้ลูกเข้าใจ โดยคำนึงถึงวัยของลูกเป็นหลัก ถ้าเด็กเล็กก็อธิบายแบบง่ายๆ ถ้าเด็กโตขึ้นมาหน่อยก็สามารถอธิบายได้ซับซ้อนมากขึ้น และเพิ่มความระมัดระวังและการสังเกตเข้าไปด้วย ถ้าเป็นกลุ่มวัยรุ่น ก็ถือโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูก รวมถึงให้ลูกมีส่วนร่วมในการเสนอแนะด้วย
      
       ประการที่เจ็ด – ฝึกให้ลูกช่วยกันดูแลความปลอดภัยในโรงเรียนของตัวเอง ถ้าเห็นอะไรผิดสังเกตบอกให้ลูกแจ้งคุณครูทันที รวมไปถึงการเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติจากบทเรียนที่โรงเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องอธิบายให้ลูกฟังว่า ลูกควรตั้งใจเรียนและพยายามจดจำ ใครจะไปรู้ว่าวันหนึ่งอาจได้นำมาใช้จริง ดังเช่นกรณีที่เคยเกิดไฟไหม้ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา และมีคุณแม่ชาวต่างชาติคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่าเธอรอดชีวิตมาได้ เพราะลูกสาววัยอนุบาลของเธอ ที่บอกว่าให้คลานต่ำๆ เวลาเกิดเพลิงไหม้ เพราะคุณครูที่โรงเรียนสอนมา และเธอก็ทำตาม จนกระทั่งมีเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือสองแม่ลูกในที่สุด
      
       ประการที่แปด – ฝึกให้เห็นความสำคัญของชุมชน ชีวิตจากนี้ไปต้องคิดถึงเพื่อนบ้าน ต้องสร้างชุมชนให้เข้มแข็งให้ได้ เพราะที่ผ่านมา เราใช้ชีวิตประหนึ่งตัวใครตัวมัน บ้านใครบ้านมัน ธุระไม่ใช่ แต่หากเราสร้างชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างแข็งแกร่ง เราก็จะช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบเห็นอะไรผิดปกติ ก็ต้องบอกกัน ช่วยเหลือกัน เพราะเมื่อเกิดภัยร้าย ก็จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ อย่าหวังหรือรอการดูแลจากภาครัฐอย่างเดียว เพราะไม่มีทางจะดูแลทั่วถึงอย่างแน่นอน
      
       ประการสุดท้าย – สร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้เกิดขึ้นกับลูกหลานของเรา ถ้าเห็นภัยใดๆ ต่อหน้าต่อตา ควรสอนให้ลูกรู้จักขอความช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ดูดายกับความไม่ถูกต้อง หรือถ้ามีโอกาสใดที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ก็ควรลงมือ แต่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยของตัวเองด้วย
      
       ทั้ง 9 ประการเป็นเรื่องที่พ่อแม่ ผู้ปกครองควรฝึกลูกให้ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยตั้งแต่เล็ก เพราะภัยร้ายในชีวิตประจำวันมีอยู่รอบตัว ปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก ฉะนั้น การเรียนรู้ การรับมือ และเตรียมป้องกันภัยร้ายในหลากหลายรูปแบบก็จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย ต้องรู้เท่าทันภัยร้ายที่ซับซ้อนมากขึ้นนั่นเอง
       
       ทักษะเรื่องความปลอดภัยในชีวิตของเด็กบ้านเรายังต่ำมาก เพราะส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่ก็คือค่านิยมและทัศนคติของพ่อแม่ยังคงเน้นเรื่องการเรียนวิชาการของลูกเป็นเรื่องแรกเสมอ ลองคิดดูว่าถ้าลูกเราเรียนเก่งมาก แต่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรือไม่สามารถป้องกันตัวเองเมื่อภัยมาถึงตัว
      
       แล้วคุณจะรู้สึกอย่างไรเมื่อถึงเวลานั้น..!!!

ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000137836

“กล้องส่งลูกเข้านอน” สิ่งประดิษฐ์น่าสนใจไอเดียคุณพ่อ



“กล้องส่งลูกเข้านอน” สิ่งประดิษฐ์น่าสนใจไอเดียคุณพ่อ


คุณพ่อนักประดิษฐ์และครอบครัว (ภาพในแท็บเล็ตเป็นภาพการนอนของลูก ๆ ที่กล้องถ่ายและส่งสัญญาณมาได้)
Rupert Plumridge วัย 35 ปี จาก Bristol กลายเป็นคุณพ่อนักประดิษฐ์ที่สามารถพัฒนาเครื่องมือสานสัมพันธ์ครอบครัวที่ช่วยให้เขาสามารถ “มองเห็น” ลูกน้อยได้ไม่ว่าตนเองอยู่ที่ไหนก็ตาม

โดยผลงานการประดิษฐ์นี้ เป็นการใช้กล้องเว็บแคมที่สามารถถ่ายภาพในเวลากลางคืนได้ร่วมกับอุปกรณ์ประเภทแท็บเล็ตพีซี สมาร์ทโฟน หรือ แลปท็อป โดยเว็บแคมนี้สามารถปรับหันซ้ายขวาได้ผ่านการควบคุมในระยะไกลจากผู้ใช้ อีกทั้งยังมีลำโพงติดตั้งมาด้วย ดังนั้น เขาและภรรยาจึงสามารถอ่านนิทานให้ลูกฟังก่อนนอนได้แม้ตัวพ่อแม่จะไม่ได้อยู่ที่บ้านกับลูกน้อยในคืนนั้น

สำหรับแรงบันดาลใจในการพัฒนามาจากผู้เป็นพ่อไม่ถูกใจอุปกรณ์ที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาด จึงเริ่มพัฒนาขึ้นมาใช้เอง โดยเขาเริ่มทดลองทำตั้งแต่ปี 2010 และสำเร็จในที่สุด คิดเป็นต้นทุนในการพัฒนาที่ 50 ปอนด์

“ด้วยเครื่องมือนี้ ผมสามารถดูภาพของลูก ๆ จากที่ไหนในโลกก็ได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ขอเพียงมีสัญญาณของผู้ให้บริการเครือข่าย หรือเมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมไปลอนดอน ผมก็สามารถส่งลูกๆ เข้านอนได้”

“บางคนอาจจะคิดว่า สิ่งประดิษฐ์นี้อาจไปละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูก แต่สำหรับผม มันคือเครื่องมือที่ทำให้พ่อคนหนึ่งมั่นใจได้ว่า ลูกๆ นอนหลับอย่างปลอดภัยเท่านั้นเอง ซึ่งการใช้งานเว็บแคมนั้นอาจมีแสงออกมาบ้าง แต่สำหรับลูกสาวก็ไม่ได้กลัว เพราะมันคือแสงที่ทำให้เธอรู้ว่า พ่อและแม่เฝ้ามองดูเธออยู่”

สำหรับผลงานการประดิษฐ์นี้ ทางคุณพ่อเจ้าของไอเดียได้พัฒนาออกมาสู่ท้องตลาดแล้ว โดยประกอบด้วยกล้องเวบแคมที่สามารถควบคุมได้จากระยะไกล และสามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืน ซึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตในบ้าน เช่น WiFi ส่วนสัญญาณที่กล้องส่งออกมานั้นจะสามารถรับชมได้ผ่านทางเบราเซอร์ หรือซอฟต์แวร์มีเดีย อื่นๆ

“มันมีประโยชน์มากกว่าตรงที่มันไม่ได้เป็นภาพขนาดจิ๋วที่คุณต้องเพ่งมอง แต่นี่คุณสามารถดูบนจอขนาดใดก็ได้ที่คุณมี และในที่ใดก็ได้ที่คุณต้องการประโยชน์ของมัน คือ หากคุณต้องไกลบ้าน และต้องการเห็นหน้าลูก มันสามารถช่วยได้” คุณพ่อนักประดิษฐ์ กล่าวทิ้งท้าย

อย่างไรก็ดี ลำโพงที่มากับตัวกล้องนั้นยังมีระบบเสียงที่ไม่ดีพอ และหากต้องถ่ายทอดสัญญาณเสียงจากระยะไกลอาจทำให้เสียงของคุณพ่อคุณแม่กลายเป็นเสียงที่น่ากลัวได้เช่นกัน
ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000138379

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อึ้ง! ทุก 20 วิ มีเด็กตายจากปอดบวม 1 คน

อึ้ง! ทุก 20 วิ มีเด็กตายจากปอดบวม 1 คน

อึ้ง! ทุก 20 วินาที จะมีเด็กตายจากปอดบวม 1 คน มากกว่าเอดส์ มาลาเรีย และหัดรวมกัน ไทยเร่งรณรงค์ให้ความรู้ป้องกัน แนะมีไข้สูงเกิน 3 วันควรพาไปพบแพทย์ ก่อนเสี่ยงเชื้อลุกลามจนเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ
      
       วันนี้ (12 พ.ย.) ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ที่ปรึกษาชมรมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย และอาจารย์พิเศษโรคระบบหายใจ รพ.รามาธิบดี กล่าวระหว่างแถลงข่าวรณรงค์ “วันปอดบวมโลก 2012” ว่า ปัจจุบันโรคปอดบวมเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า เด็กเล็กทั่วโลกเสียชีวิตจำนวน 20 ล้านคนต่อปี โดยเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมมากถึงร้อยละ 18 หรือประมาณ 1.5 ล้านคนต่อปี หรือประมาณ 1 คนต่อ 20 วินาที ซึ่งมากกว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคหัดรวมกัน และยังพบด้วยว่าร้อยละ 99 ของเด็กที่เสียชีวิตอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย
ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย กล่าวอีกว่า WHO ได้จับมือกับองค์กรพันธมิตรวันปอดบวมโลก (World Pneumonia Day Coalition) จัดรณรงค์ “วันปอดบวมโลก” (World Pneumonia Day) โดยรณรงค์ให้ทุกประเทศให้ความรู้ในการป้องกัน เพื่อลดจำนวนเด็กเสียชีวิต ซึ่งในปีนี้ WHO เน้นรณรงค์ในเรื่อง “Fight Pneumonia, Save a Child” สำหรับประเทศไทยได้มีการรณรงค์ป้องกันโรคปอดบวมในเด็กเล็กมาอย่างต่อเนื่อง แต่พ่อแม่บางคนคิดว่าโรคปอดบวมเป็นโรคที่ไม่อันตราย และละเลยการป้องกัน จึงทำให้อัตราการเสียชีวิตและพิการไม่ลดลง
      
       “โรคปอดบวมมักพบการแพร่ระบาดหนักในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงและหนาวเย็น พ่อแม่ที่มีลูกอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หากมีอาการไข้หวัด ไอจาม มีไข้นานเกิน 3 วัน น้ำมูกไหล ต้องรีบพบแพทย์ แต่หากปล่อยให้เป็นหวัดเรื้อรัง เชื้ออาจแพร่กระจายไปยังหูชั้นกลางและปอดได้ และอาจเกิดการติดเชื้อกลายเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคปอดบวมรุนแรง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคติดเชื้อในกระแสเลือด” ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย กล่าว
      
       ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย กล่าวด้วยว่า โรคปอดบวมจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงเด็กที่อยู่รวมกันในสถานที่ที่หนาแน่น เช่นโรงเรียนอนุบาล ด้านเด็กเล็กโดยเฉพาะในทารกที่ไม่สามารถพูดหรือบอกอาการได้ ผู้ปกครองสังเกตอาการจากอัตราการหายใจ ซึ่งในเด็กเล็กอายุกว่า 1 ปี หายใจเร็วมากกว่า 50 ครั้งต่อนาที และเด็กเล็กที่อายุมากกว่า 1 ปี หายใจเร็วกว่า 40 ครั้งต่อนาที หรือหายใจหอบจนซี่โครงบุ๋ม หายใจมีเสียงวี๊ดๆ ให้สงสัยว่าเด็กอาจเป็นโรคปอดบวม นอกจากนี้อาจจะมีไข้สูง ไม่กินนม และอาจจะมีอาการชักด้วย
      
       รศ.พญ.อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์ กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีอย่างใกล้ชิด ในช่วงที่อากาศเปลี่ยน เพราะโรคปอดบวมรุนแรงเกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส และเชื้อเอ็นทีเอชไอ ซึ่งเชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคหูชั้นกลางอักเสบได้ เพาะจากสถิติพบว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปีมากถึงร้อยละ80 มีโอกาสเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งหากในรายที่เป็นรุนแรงอาจทำให้เกิดเป็นเยื่อแก้วหูทะลุ และเมื่อไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะเกิดเป็นหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง มีหนองไหลออกจากหู และอาจทำให้สูญเสียการได้ยินได้ นอกจากนี้การอักเสบของหูยังสามารถลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เยื่อสมองอักเสบ และฝีในสมอง
      
       รศ.พญ.อัจฉรา กล่าวอีกว่า พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการป้องกันโรคหูอักเสบในเด็กเล็ก ซึ่งเป็นโรคที่สังเกตได้ยาก หากปล่อยจนเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบอาจทำให้มีผลกระทบด้านการสื่อสารของเด็กในระยะยาว ทั้งนี้ โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็กสังเกตได้จาก เด็กมีการร้องกวน งอแง เอามือจับหูบ่อยๆ หรือเอานิ้วแยงหูหรือไม่ยอมให้ผู้ปกครองจับบริเวณหู ควรนำเด็กไปพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การเลี้ยงดูเด็กให้มีสุขภาพแข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในทารกควรเลี้ยงด้วยนมแม่ ทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ และสอนให้เด็กรู้จักกับสุขอนามัยที่ถูกต้อง รวมทั้งการฉีดวัคซีนต่างๆ ที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้ โดยในประเทศไทยวัคซีนไอพีดี ปอด-หูอักเสบยังเป็นวัคซีนทางเลือกเพราะยังเป็นวัคซีนที่มีความใหม่อยู่
      
       อนึ่ง ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-4 พฤศจิกายน 2555 พบผู้ป่วย 168,490ราย เสียชีวิต 1,074 ราย กลุ่มอายุ 65 ปีพบประมาณร้อยละ 24.1 อายุ 1 ปีพบร้อยละ 12.27 อายุ 2 ปีพบร้อยละ 8.43 ทั้งนี้ จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด คือแม่ฮ่องสอน พบ 553.24 รายต่อแสนประชากร ฉะเชิงเทรา 542.17 รายต่อแสนประชากร รองลงมาคือ ตาก อ่างทอง และเชียงราย
ที่มา
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000138244

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

IQ ดี EQ สูง ปั้นที่หนึ่งได้ไม่ยาก





IQ ดี EQ สูง ปั้นที่หนึ่งได้ไม่ยาก (M&C แม่และเด็ก)

IQ (Intellingence Quotient) ความสามารถทางเชาวน์ปัญญาหรือความฉลาดในการเรียนรู้ ส่วน EQ (Emotional Quotient) ความสามารถในการพัฒนาอารมณ์และสังคม เป็นความฉลาดในการแยกแยะ ควบคุม และจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง ซึ่งการที่อยู่ในโลกเร่งด่วนและเคร่งเครียดอย่างนี้ การปั้น IQ และ EQ ดี ๆ ให้ลูก ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยค่ะ

เตรียมพร้อมรับ IQ–EQ

เด็กที่มีการเตรียมพร้อมพัฒนาการด้านต่าง ๆ อย่างดี จะเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งเราสามารถใช้ความอยากรู้อยากเห็นมาช่วยเตรียมความพร้อมให้ลูกได้

รู้จักช่วยเหลือตัวเอง หัดให้เขารู้จักช่วยเหลือตัวเองตามวัยอย่างเหมาะสม เมื่อเขาทำสำเร็จก็จะเกิดความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ

การควบคุมอารมณ์และรู้จักรอคอย อย่าใส่ใจกับพฤติกรรมไม่ดีของลูก แต่ต้องคอยตักเตือนด้วยเหตุผลไม่ให้ลูกทำพฤติกรรมอย่างนั้นอีก รวมทั้งชมเชยลูกเมื่อเขาแสดงออกอย่างเหมาะสม

เรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัว เพราะจะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านสติปัญญาและจิตใจอย่างสมบูรณ์ ด้วยการพาลูกไปเที่ยวนอกบ้าน หมั่นตั้งคำถามง่าย ๆ กับลูก เล่านิทาน หรืออ่านหนังสือให้ฟังบ่อย ๆ

การเข้าสังคม เพราะจะทำให้ลูกไม่เขินอาย หรือกลัว ยามเจอคนแปลกหน้า เล่นกับคนอื่นได้ เมื่อถึงวัยเข้าเรียนก็สอนให้รู้จักสิทธิส่วนบุคคล ไม่ควรหยิบของผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน และขอบคุณเมื่อใครทำอะไรให้ หรือรู้จักขอโทษเมื่อทำความผิด

เทคนิคเสริมสร้าง IQ–EQ

ดูแลอาหารการกินให้หลากหลาย และครบห้าหมู่

ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ หากลูกมีความสามารถด้านกีฬาชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็ควรส่งเสริมโดยตรง

พักผ่อนนอนหลับให้เต็มที่ เมื่อสมองแจ่มใสปลอดโปร่งจะตื่นตัว ความคิดสร้างสรรค์ก็จะตามมา

ชวนกันอ่านหนังสือ เล่านิทาน ทำกิจกรรมสนุก ๆ ร่วมกันทั้งครอบครัวเป็นประจำ

ผ่อนคลายด้วยดนตรี ศิลปะ หรือออกไปเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ เพราะจะช่วยเปิดโลกทัศน์ และปลูกฝังสร้างจินตนาการที่ดีให้แก่ลูก

มองความสามารถของลูกตามความเป็นจริง อย่าคาดหวังกับลูกมากเกินไป จนกลายเป็นการบีบบังคับกดดัน ให้ลูกทำในสิ่งที่ยากเกินความสามารถและพัฒนาการตามวัย

เลี้ยงลูกด้วยความรัก โอบกอดลูกเสมอให้เขารู้สึกในความอบอุ่นอิ่มเอมใจ

จำเป็นต้องวัด IQ–EQ หรือไม่ ?

ไม่จำเป็นหรอกค่ะ เพราะเด็กที่วัดไอคิวส่วนใหญ่ คือเด็กที่สงสัยว่ามีปัญหาทางด้านสติปัญญา ซึ่งความจริงแล้ว เราสามารถประเมินไอคิวของลูกได้เอง โดยหมั่นสังเกตปฏิกิริยาของลูกเมื่อถูกสิ่งเร้ามากระตุ้น ดูว่า เขาจะจัดการสนองตอบต่ออารมณ์แบบไหน ผลที่ได้จะแม่นยำกว่าแบบทดสอบทางด้านสติปัญญาอีกค่ะ


ที่มา
http://baby.kapook.com/เรื่องน่ารู้คุณลูก-49405.html

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

"ลูก-งานไปด้วยกันได้"กับ 6 สไตล์งานน่าสนใจสำหรับพ่อแม่


"ลูก-งานไปด้วยกันได้"กับ 6 สไตล์งานน่าสนใจสำหรับพ่อแม่
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การนั่งทำงานออฟฟิศอาจไม่ใช่ทางเลือกสำหรับคนเป็นพ่อแม่ในยุคนี้อีกต่อไป เหตุเพราะมีปัจจัยหลาย ๆ ประการเข้ามาข้องเกี่ยว เช่น การไม่มีใครให้ฝากเลี้ยง จะพาไปฝากเนิร์สเซอรี่ก็เสี่ยงที่จะป่วยบ่อย ถูกทำร้าย สถานที่ไม่ได้มาตรฐาน จะจ้างพี่เลี้ยงก็เสี่ยงไม่แพ้กัน เพราะเด็กเล็กต้องการคนดูแลที่สามารถปลูกฝังพฤติกรรมดี ๆ ให้กับเด็กได้ ไม่ใช่เลี้ยงแบบทิ้งขว้าง หรือเปิดทีวีให้ดูละครน้ำเน่าทั้งวัน ส่วนทางเลือกที่จะฝากปู่ย่าตายาย ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า ปู่ย่าตายายในยุคนี้บางท่านก็ยังต้องทำงาน ไม่สามารถสละเวลามาช่วยเลี้ยงหลานได้เหมือนปู่ย่าตายายในอดีต
      
       หันไปหันมา หนีไม่พ้นพ่อแม่ที่จะต้องปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของตนเองให้เหมาะกับสถานภาพของครอบครัวในเวลานี้เสียเอง ซึ่งการปรับเปลี่ยนนั้น ส่วนหนึ่งต้องเข้าใจด้วยว่าคนที่มีลูกเล็กนั้นต้องการงานที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่จำเป็นต้องนั่งติดกับโต๊ะทำงานตลอดทั้งวัน เพราะเด็กเล็กจะค่อนข้างไม่อยู่นิ่ง หรือบางคนก็ป่วยง่าย หากเป็นงานที่ต้องลาไปพบแพทย์ หรือต้องขาดงานเพราะลูกไม่สบายอยู่เนือง ๆ ก็จะลำบากใจไม่น้อย สำหรับคนที่มีลูกโตขึ้นหน่อยนั้นก็ต้องการงานที่ยืดหยุ่นได้ไม่แพ้กัน แต่เป็นความยืดหยุ่นคนละแบบ เพราะในเด็กวัยเรียนเป็นความยืดหยุ่นที่อาจมีการวางแผนล่วงหน้า เช่น คุณครูประจำชั้นนัดพบผู้ปกครอง วันที่โรงเรียนมีกิจกรรมและต้องให้ผู้ปกครองไปร่วมงานด้วย เป็นต้น
      
       ลักษณะงานที่เหมาะสมสำหรับพ่อแม่ที่ต้องการเลี้ยงลูกเอง
      
       - เป็นงานที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถบริหารจัดการเวลาทำงานเองได้
       - เป็นงานที่ไม่จำเป็นต้องนั่งติดกับโต๊ะทำงานตลอดเวลา
       - เป็นงานที่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์
      
       อย่างไรก็ดี การได้โอกาสดังกล่าวมาครอบครองคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ถ้าสามารถทำได้ก็จะเป็นชีวิตในฝันที่ได้มีโอกาสทั้งดูแลลูก และทำงานไปพร้อม ๆ กัน โชคดีของคุณพ่อคุณแม่ที่ได้งานในลักษณะนี้ก็คือไม่ต้องไปฝากชีวิตคนที่เรารักไว้กับคนอื่น เช่น พี่เลี้ยงอาเซียน หรือเนิร์สเซอรี่ที่บางท่านก็ได้พบกับประสบการณ์ไม่ดี โดยคุณอาจต้องแลกกับบางสิ่งบางอย่าง เช่น การทำงานในเวลาที่แตกต่างจากคนอื่นบ้างเพื่อให้ตนเองสามารถดูแลลูกได้ (เพราะคนที่เป็นพ่อแม่และได้เลี้ยงลูกเองจะทราบดีว่า ในเวลาที่ลูกตื่นนั้น ยากที่จะหาความสงบได้นั่นเอง และยิ่งลูกเริ่มหัดเดิน เริ่มซน เริ่มวิ่งได้ คุณจะยิ่งไม่มีเวลาไปสนใจสิ่งอื่น ๆ เพราะต้องไล่ตามเจ้าตัวเล็กจนกว่าพวกเขาจะหมดแรง และนอนหลับไป จากนั้นจึงจะถึงตาของคุณที่จะได้จัดการงานต่าง ๆ ของตนเองบ้างนั่นเอง)
      
       วันนี้เราจึงขอหยิบยกลักษณะงานที่ใกล้เคียงกับงานในรูปแบบดังที่กล่าวไว้ข้างต้นมาฝากกัน จะมีงานอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ
      
       - เปิดเนิร์สเซอรี่
      
       หากคุณมีลูกเล็ก และมีความพร้อมในการดูแลเด็ก ๆ รวมถึงมีทุนในระดับหนึ่ง การเปิดสถานรับดูแลเด็กขึ้นมาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้คุณมีรายได้ และสามารถดูแลลูกของคุณ (พร้อม ๆ กับดูแลลูกของผู้ใช้บริการท่านอื่น ๆ) ไปพร้อม ๆ กัน สนใจค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อย่างไรก็ดี งานในลักษณะดังกล่าวอาจต้องมีการรับพี่เลี้ยงเด็ก และเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม ซึ่งหากคุณเป็นพ่อแม่ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ และสามารถดูแลธุรกิจได้แล้วนี่อาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจทีเดียว สำหรับคำแนะนำที่จะมีให้กับผู้สนใจธุรกิจดังกล่าว เราขอบอกได้เพียงว่า ความต้องการของคนเป็นพ่อแม่ที่อยากจะหาเนิร์สเซอรี่ดี ๆ นั้นยังมีสูงมาก โดยเฉพาะในย่านที่มีสำนักงาน สถานที่ราชการกระจุกตัวกันมาก ๆ นั่นเอง (ยกตัวอย่างเช่น ย่านศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ) เพราะคนเป็นพ่อแม่ก็ต้องมาทำงานในย่านนั้น ๆ อยู่แล้ว การได้ทราบว่าลูกอยู่ใกล้ ๆ สามารถแวะไปเยี่ยมในช่วงพักเที่ยงได้ หรือมีเหตุฉุกเฉินใด ๆ ก็สามารถบึ่งมาหาได้อย่างรวดเร็วก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ทำงานอย่างมีความสุขขึ้นอีกมากค่ะ
      
       - ผู้ผลิตสินค้าสำหรับเด็ก
      
       คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเมื่อมีประสบการณ์ในการเลี้ยงเด็กมาพอสมควรแล้ว หลายคนก็มองทะลุไปถึงความต้องการของพ่อแม่ที่มีลูกวัยเดียวกัน หรืออ่อนกว่า และคิดพัฒนาสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของพ่อแม่เหล่านั้นออกมาได้ เช่น คุณพ่อท่านหนึ่งผลิตรั้วกั้นสำหรับเด็กเล็กไม่ให้วิ่งซนจนเกินอันตรายออกมาวางจำหน่ายและก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี หรือคุณแม่ท่านหนึ่งที่พัฒนากางเกงในผ้าอ้อมสาลูแทนการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เหล่านี้เป็นต้น หากสินค้าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และมีการบอกต่อในกลุ่มพ่อแม่ด้วยกันอย่างกว้างขวางแล้วล่ะก็ ธุรกิจนี้ก็สามารถเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย ๆ ไม่แพ้การทำงานออฟฟิศเช่นกัน
      
       - ขายของทางอินเทอร์เน็ต
      
       สำหรับการเป็นแม่ค้าขายของทางอินเทอร์เน็ต ห้องที่ใหญ่และมีพ่อแม่เข้าไปเยี่ยมชมแน่นหนาที่สุดอาจหนีไม่พ้น ห้องเปิดท้ายฯ ในโต๊ะชานเรือนของเว็บไซต์พันทิป ซึ่งไม่เพียงแต่มีของมือสองของเด็ก ๆ มาส่งต่อให้กับพ่อแม่คนอื่นในราคามิตรภาพแล้ว บางทียังมีของมือหนึ่ง หรือของแปลก ๆ น่าสนใจมาประกาศกันมากมาย อย่างไรก็ดี การขายของทางอินเทอร์เน็ต กฎที่ต้องยึดถือคือการซื่อสัตย์ต่อลูกค้า เพราะมีพ่อแม่หลายรายมีปัญหากับผู้ขายเนื่องจากโอนเงินไปแล้วไม่มีการส่งสินค้าตามที่ระบุมาให้ หรือนำภาพจากเว็บอื่นมาหลอกให้ลูกค้าหลงเชื่อว่ามีสินค้าจริงแล้วโอนเงินมาให้ก็มี
      
       - นักแปล นักวาดภาพประกอบ เขียนหนังสือ
      
       หากคุณคุ้นเคย หรือชื่นชอบแวดวงหนังสือ และมีความถนัดด้านการแปล การเขียนบทความ หรือวาดภาพประกอบ งานในลักษณะนี้ก็เป็นงานที่ทำจากบ้านได้เช่นกัน (และนั่นหมายความว่าคุณสามารถเลี้ยงลูกไปด้วยได้) แต่ผู้ทำต้องมีวินัยในตนเองพอสมควร เพราะทางสำนักพิมพ์จะมีเส้นตายของการรับต้นฉบับ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ แต่ถ้าหากมีทุนมากพอ และรักในงานนี้มากพอ จะศึกษาข้อมูลและเปิดสำนักพิมพ์ของตนเองเลยก็ยังได้ค่ะ แต่อาจต้องทำใจเผื่อเอาไว้บ้าง เพราะในประเทศที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการอ่าน บางครั้งก็ยากจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำนะคะ
      
       - ครูสอนพิเศษ
      
       หากคุณมีความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น สามารถสอนภาษาจีนกลาง ภาษาญี่ปุ่นได้ หรือเป็นติวเตอร์ การรับสอนพิเศษให้กับบุคคลทั่วไปก็เป็นอีกหนทางหนึ่งในการหารายได้พิเศษที่น่าสนใจ เพราะคุณสามารถกำหนดเวลาทำงานได้ด้วยตนเอง อีกทั้งเป็นการทำงานในเวลาสั้น ๆ ไม่กี่ชั่วโมง และเพราะเราเข้าใจว่า การต้องพาลูกไปฝากเลี้ยงยังเนิร์สเซอรี่ หรือจ้างพี่เลี้ยงนั้นทำใจลำบากเพียงใด การต้องห่างลูกเป็นเวลาไม่นานเช่นนี้จึงน่าจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจพอสมควรค่ะ
      
       - โปรแกรมเมอร์ กราฟิกดีไซน์
      
       งานไอทีก็เป็นอีกหนึ่งงานที่มีคุณพ่อคุณแม่หลายท่านเปิดบริษัทรับงานจากบ้าน และรายได้ดีไม่แพ้งานอื่น ๆ เพียงแค่เปลี่ยนสถานที่นั่งหลังขดหลังแข็งจากในออฟฟิศมาเป็นที่บ้าน ยิ่งปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตทำให้โลกไร้พรมแดนมากขึ้น การจะรับงานจากต่างประเทศที่มีค่าตอบแทนสูงกว่าเงินบาทก็ยิ่งเป็นไปได้มากขึ้น
      
       นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ที่ระบุว่า ความสุขจากการได้ขึ้นเงินเดือนนั้นไม่สามารถทัดเทียมได้กับผู้ที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตครอบครัวได้เลย เนื่องจากการได้ขึ้นเงินเดือนนั้นเป็นความสุขช่วงสั้น ๆ ของพ่อแม่มนุษย์เงินเดือน อีกทั้งเมื่อได้รับค่าตอบแทนในระดับที่ตนเองพอใจแล้ว คนเหล่านี้ก็จะเปลี่ยนไปสนใจในเรื่องอื่นแทน เช่น ค่าตอบแทนของเพื่อนร่วมงาน ว่าคนอื่น ๆ ได้เท่าไรกัน และนำมาเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนของตนเอง และแม้ว่าพนักงานผู้นั้นจะได้รับเงินเดือนจำนวนมากแล้วก็ตาม พวกเขาก็อาจเกิดความไม่พอใจขึ้นได้ หากพวกเขาได้รับทราบว่ามีความไม่เสมอภาคเกิดขึ้นในหมู่เพื่อนร่วมงาน ตรงกันข้ามกับผู้ที่มีเวลาในการทำงานที่ยืดหยุ่นมากพอ คนเหล่านี้จะมีความสุขในชีวิตที่เหนือกว่านั่นเอง
ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000135238

“สื่อ” ตัวการกระตุ้นความรุนแรงในเด็ก

“สื่อ” ตัวการกระตุ้นความรุนแรงในเด็ก..!!
บทความโดย สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน
จาก http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000135119
 สัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวช็อกสังคมเรื่องเด็กที่เกิดในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน 2 ข่าว
      
       เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นกับเด็กอายุ 14 ปี ที่ทำร้ายแม่จนเสียชีวิต สาเหตุเพราะถูกห้ามไม่ให้ไปเล่นเกม จึงเกิดบันดาลโทสะเอามีดสปาร์ต้าแทงแม่จนเสียชีวิต และฟันพี่สาวที่พยายามจะเข้าไปห้าม ซึ่งจากการตรวจสอบประวัติพบว่าเด็กมีปัญหาออทิสติก แต่รักษาหายแล้ว ปัญหาใหญ่คือเด็กติดเกมอย่างหนัก
      
       คำถามผุดขึ้นมากมายว่า ทำไมเด็กถึงติดเกม เด็กถูกเลี้ยงดูมาอย่างไร มีพื้นนิสัยอย่างไร ครอบครัวมีเวลาให้มากน้อยแค่ไหน เด็กถูกดุด่าว่ากล่าวและตำหนิเป็นประจำหรือไม่ เด็กมีอาการซึมเศร้าหรือเก็บกดหรือไม่ ปัญหาเรื่องอาการออทิสติกได้รับการแก้ไขและรักษาอย่างต่อเนื่องหรือไม่ และทำไมถึงมีมีดสปาร์ต้าอยู่ในบ้าน ฯลฯ
      
       จริงอยู่ว่าเหตุการณ์นี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว แต่นี่ก็เป็นปัญหาสังคมด้วยเช่นกัน เพราะทิศทางของเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่มีแนวโน้มติดเกมก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเด็กติดเกมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผนวกกับดูอย่างการถูกเลี้ยงไม่เหมาะสม ก็มีโอกาสที่จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมตามมาอีกมากมาย กลายเป็นวงจรอุบาทว์ จากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง และขยายผลไปอีกในหลายๆ เรื่อง เช่น เด็กติดเกม ปัญหาที่ตามมาคือเรื่องสุขภาพ พฤติกรรมก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ เสียการเรียน ถ้าไปเจอะเจอกับกลุ่มมิจฉาชีพ ชวนก่ออาชญากรรม เพราะต้องการได้เงิน หรือมีโอกาสไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติดก็เป็นไปได้
      
       รายที่สองเป็นเด็กอายุ 8 ปี เลียนแบบรายการทีวีที่มีภาพแขวนคอติดต่อกัน จึงเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ และบอกกับเพื่อนว่าจะไปเล่นแขวนคอโดยนำเชือกมาผูกกับต้นหูกวาง จนหมดสติ ขาดอากาศหายใจนานกว่า 10 นาที แม้โชคดีที่ไม่เสียชีวิต แต่คุณหมอก็ยังต้องประเมินอาการนับจากนี้ โดยเฉพาะเรื่องสมอง
      
       คำถามต่อกรณีนี้ก็ผุดขึ้นมากมายเช่นกันว่า เด็กถูกเลี้ยงดูมาอย่างไร ทำไมปล่อยให้เด็กดูทีวีหรือรายการที่ไม่เหมาะสมซ้ำๆ ย้ำๆ ยิ่งพ่อให้สัมภาษณ์ว่าลูกดูภาพเหล่านี้ติดต่อกันหลายวัน และสนใจฉากเหล่านี้มากเป็นพิเศษ นั่นหมายความว่าเมื่อผู้ปกครองเห็นว่าไม่เหมาะสมก็ไม่ควรให้ดู หรือควรพูดคุยอธิบาย เพื่อที่จะได้รู้ว่าลูกคิดอะไรอยู่ ถึงขนาดเพื่อนบอกว่าเพื่อนอยากเล่นแขวนคอ นั่นเป็นสัญญาณเตือนแล้วมิใช่หรือ
      
       ปัญหาเรื่องเด็กเลียนแบบสื่อเป็นปัญหามายาวนาน บรรดาผู้ผลิตละคร สื่อที่นำเสนอ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มักจะออกมาพูดในเวลาที่เกิดปัญหาเมื่อสังคมออกมาต่อว่า ในท่วงทำนองที่ว่าเป็นเรื่องที่ครอบครัวควรให้ความใส่ใจ ไม่ใช่โทษละครหรือคนทำสื่อ ทำไมไม่เลียนแบบพฤติกรรมดีๆ บ้างล่ะ หรือที่ผลิตละครก็เพราะต้องการสะท้อนความเป็นจริงในสังคม ฯลฯ
      
       จริงอยู่ว่าครอบครัวไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ไปได้แน่นอน แต่ปัญหานี้ก็มันไม่ได้จบลงที่ครอบครัวอย่างเดียว แต่มันเป็นปัญหาร่วมของสังคมด้วย
      
       อย่าลืมว่าครอบครัวที่ดูแลและใส่ใจคุณภาพลูกก็มีวิธี มีความรู้ว่าจะปกป้องเลี้ยงดูลูกของตัวเองอย่างไร แต่ก็ต้องยอมรับว่าความเป็นจริงในชีวิต ครอบครัวที่ขาดความรู้ และเลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี ปล่อยลูกอยู่กับสื่อไม่เหมาะสม และรู้ไม่เท่าทันสื่อ มีจำนวนมากกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ กลุ่มเหล่านี้ต่างหากที่น่าเป็นห่วงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมในชนบท
      
       ปัจจุบันสื่อและเทคโนโลยีที่ล้นทะลักเข้ามาทำให้เด็กสามารถเข้าถึงสื่อได้ทุกแขนง หน้ำซ้ำยังเป็นสื่อเคลื่อนไหว และสามารถดูซ้ำๆ ได้หลายๆ ครั้ง
      
       เราต้องยอมรับว่าสื่อเองก็มีปัญหาอย่างมากในยุคปัจจุบัน ทั้งขาดจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม เกิดอะไรขึ้นก็โทษว่าเพราะครอบครัวไม่รู้จักดูแล
      
       แต่รายการละครทั้งหลายก็เน้นหนักไปทางละครชิงรักหักสวาทและเน้นไปที่การตบตี และฉากความรุนแรงสะใจทั้งวาจาและท่าทาง บางช่องต้องมีการโปรโมทก่อนจะถึงฉากวันตบจริง พอวันตบจริงก็ออกซ้ำอีก ยังไม่หนำใจเล่าข่าวช่วงเช้าในช่องเดิมก็นำเอาฉากนั้นมาขยายผลต่ออีก ประหนึ่งฉากเมื่อวานใครไม่ได้ดูก็ดูซะ
      
       แล้วจะบอกว่าสื่อไม่ใช่ปัญหาได้อย่างไร..!!!
      
       ที่แย่ไปกว่านั้น เมื่อนำเสนอข่าวว่าเกิดอะไรขึ้นแล้ว กลับไม่พยายามนำเสนอข่าวอย่างรอบด้านในการให้ข้อมูลความรู้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองควรจะดูแลบุตรหลานอย่างไร หรือสัมภาษณ์นักวิชาการเพื่อให้ข้อคิดในการเลี้ยงดูลูกอย่างเหมาะสม แม้บางช่องที่มีการสัมภาษณ์ก็จะให้พื้นที่และเวลาน้อยนิดชนิด 2-3 นาที แล้วก็บอกว่านำเสนอแล้วไง
      
       แล้วมันจะได้ใจความสำคัญอย่างรอบด้านได้อย่างไร
      
       ตรงกันข้าม รายการทีวีกลับขยายฉากประเภทตบตีให้ยืดขยายจนน่าเกลียด ประเภทนางร้ายตบมา นางเอกก็ตบกลับ แล้วต้องมีท่าจิกตัวทึ้งหัว ใช้เท้าถีบหรือผลักตก เรียกว่าเป็นฉากไฮไลต์และยืดเอาไว้ให้นานเป็นตอนๆ ให้เห็นท่าตบตีอย่างละเอียด หรือฉากที่ผู้ชายปล้ำผู้หญิงก็ต้องจ่อกล้องให้เห็นท่าปล้ำกันทุกท่วงท่า หรือแม้แต่ฉากฆ่าตัวตายก็ต้องเอื้อนทำท่าให้เห็นวิธีการของการผูกคอตายทุกขั้นตอน
      
       ถามว่าแล้วฉากเหล่านี้ให้อะไรกับสังคม นอกจากการสอนทางตรงออกสื่อ..!!!
      
       กรณีที่เกิดขึ้นกับเด็กทั้ง 2 ราย ไม่ใช่เหตุการณ์แรก แต่เป็นเหตุการณ์ที่สะสมความสะเทือนใจสังคมมาโดยตลอด เป็นวิกฤติสังคมที่ถูกกัดกร่อนมาอย่างยาวนาน และควรถูกตั้งคำถามได้แล้วว่า ถึงเวลาที่สื่อทุกแขนงต้องทบทวนตัวเองด้วยเช่นกัน ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นให้เกิดปัญหาความรุนแรงในสังคมที่ทวีมากขึ้นทุกขณะหรือไม่
      
       แต่ในระดับครอบครัวเองก็ต้องมีความรู้และวิธีป้องกันความรุนแรงในเด็กด้วย
      
       ประการแรก เริ่มจากพ่อแม่ที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก เพราะเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ ควรฝึกฝนให้เด็กรู้จักควบคุมตนเองตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย ให้เด็กได้รู้ถึงคุณค่าของตนเอง
      
       ประการที่สอง ฝึกวินัยในเด็ก เช่น กำหนดช่วงเวลาของการรับสื่อ ถ้าในช่วง 2 ขวบปีแรก ไม่ควรให้ลูกดูสื่อทีวีหรือเข้าถึงสื่ออิเลคทรอนิกส์เลย และเมื่ออายุมากขึ้นก็กำหนดช่วงเวลา ถ้าลูกเล็กก็เวลาน้อย และค่อยๆ ยืดหยุ่น แต่สำหรับเด็กไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน
      
       ประการต่อมา พ่อแม่ผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดี ต้องไม่ใช้ความรุนแรงในการจัดการปัญหา แต่ควรใช้การพูดคุยด้วยท่าทีที่ต้องการแก้ไขปัญหาแบบไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ควรใช้การหันหน้าเข้าหากันเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก และเป็นการป้องกันมิให้เด็กใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาอีกด้วย
      
       ประการที่สี่ เวลาคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้ครอบครัวกล้าที่จะพูดคุยหรือปรึกษาหารือกันเมื่อเกิดปัญหา หรือความคับข้องใจ และพ่อแม่ก็พร้อมที่จะให้คำชี้แนะที่เหมาะสมด้วยเหตุและผล ไม่ใช้อารมณ์แก้ปัญหา
      
       ประการที่ห้า สังเกตพฤติกรรมลูกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวัยก่อนเข้สู่วัยรุ่น และวัยรุ่น ถ้าพบเห็นว่ามีพฤติกรรมเปลี่ยนไป หรือแปลกไป ก็ควรจะได้มีการพูดคุยสอบถาม บางครั้งลูกอาจส่งสัญญาณบอกเราก็ได้
      
       ในระดับสังคมเองก็ต้องมีส่วนช่วยปกป้องเด็กและเยาวชนในชาติด้วย โดยเฉพาะสื่อและเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ล้นทะลักเข้ามา ถ้าผู้ผลิตหรือเจ้าของสื่อมีระดับจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม ก็ควรที่จะผลิตรายการช่วย “ลด” ปัญหาสังคม มิใช่ผลิตรายการ “ซ้ำเติม” ปัญหาอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
      
       นี่ยังไม่ได้นับรวมกับระดับนโยบายของภาครัฐ ที่มีอีกหลายโครงการที่กำลังถูกตั้งคำถามว่า กำลังสร้างปัญหาใหม่ให้กับเด็กและเยาวชนหรือไม่...
      
       ทั้งนโยบายแจกแท็บเล็ตเด็กป1 และนโยบายหวยออนไลน์..!!!

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มาฝึกฟังลูกกันเถอะ

มาฝึกฟังลูกกันเถอะ


มาฝึกฟังลูกกันเถอะ
คำกล่าวที่ว่า “ลูกจะต้องเชื่อฟังพ่อแม่” คงใช้ไม่ได้กับเด็กทุกวัย โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นที่ต้องการมีบุคลิกเป็นตัวของตัวเอง สนใจตัวเองมากขึ้น และเพื่อน คือ ผู้ที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของเด็กวัยรุ่นมากที่สุด ดังนั้น การสื่อสารพูดคุยระหว่างพ่อแม่กับลูก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะทักษะการฟัง เป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในการสื่อสาร เพราะทำให้ผู้พูดรู้สึกมั่นใจ เกิดความไว้วางใจที่จะพูดคุย หรือปรึกษากับพ่อแม่เมื่อมีปัญหา โดยเฉพาะกับลูก ส่วนจะฝึกฟังลูกอย่างไรนั้น บรรทัดด้านล่างนี้คือแนวทางดีๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไป
      
       ตั้งเป้าก่อนสนทนาว่าจะตั้งใจฟังลูกพูดให้จบ      
       คุณพ่อคุณแม่พึงระลึกไว้เสมอว่า ลูกควรได้มีสิทธิ์พูด หรืออธิบายบ้าง เพราะหัวใจสำคัญของการพูดคุยกับลูก คือ การเปิดโอกาสให้ลูกได้พูดมากกว่าพ่อแม่ ซึ่งจะเกิดได้ต้องอาศัยทั้งบรรยากาศ การใช้คำพูด เป็นต้น
      
      ฟังโดยแสดงท่าทางสนใจ      
       การแสดงความสนใจต่อผู้เล่า ทั้งสีหน้า สายตา ท่าทาง เป็นประเด็นสำคัญของการฟังอย่างตั้งใจ เช่น สบตาลูก หรือพยักหน้าเป็นระยะ และแสดงอาการตอบรับ เช่น อืม จ้ะ เพื่อให้ลูกรู้ว่าเรากำลังตั้งใจฟังเขาอยู่
ไม่พูดขัดจังหวะหรือพูดแทรก      
       การเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ควรพูดขัดจังหวะ หรือพูดแทรก แต่ควรฟังลูกพูดให้จบก่อน และเมื่อถึงเวลาตอบ พูดให้สั้นกระชับ ตรงประเด็น หากไม่มีข้อมูล บอกกับลูกตรงๆ และชวนลูกค้นหาข้อมูลด้วยกัน ไม่ใช้เวลานานในการพูดคุยแต่ละครั้ง นอกจากนั้น พยายามสะท้อนสิ่งที่ลูกพูดเป็นระยะเพื่อตรวจสอบความเข้าใจทั้งเรื่องที่เล่าและความรู้สึกของลูก และแสดงให้รู้ว่าเรากำลังตั้งใจฟังลูก
   
        ใช้คำถามปลายเปิด
       ควรใช้ประโยคคำถามปลายเปิดแทนประโยคคำสั่ง เพื่อขอให้อธิบาย หรือขยายความเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้พูดรู้สึกสบายใจที่จะพูดความจริง เช่น “ลูกไม่เข้าใจตรงไหนที่แม่พูดไป” “ไหนลองบอกเหตุผลสิว่าเป็นเพราะอะไร” หรือ “อะไรทำให้คิดแบบนั้น” เป็นต้น
      
       ดังนั้น การที่เด็กๆ หลายคนมักบ่นว่า พ่อแม่ไม่เคยฟังว่าเขามีปัญหาอะไร เอาแต่บ่นเรื่องซ้ำๆ ซากๆ ในขณะที่พ่อแม่เองก็หาว่าลูก “พูดเท่าไรก็ไม่ฟัง” แต่บางครั้งอาจลืมคิดไปว่า การที่ลูกไม่ฟัง ก็เพราะพวกเขารู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้พูดหรือสั่งสอน ด้วยการให้ความรู้ หรือบอกเล่าเรื่องราว แต่เป็นการใช้อารมณ์ลงกับลูก ดังนั้น ถ้ารู้สึกเหนื่อยหน่ายที่ต้องพูดเรื่องเดิมๆ กับลูก อาจต้องกลับมาลองคิดดูว่า
      
       - เคยถามลูกบ้างหรือไม่ว่า ทำไปเพราะอะไร
      
       - เมื่อถามแล้ว คุณหยุดฟังคำตอบจากลูกหรือยังก่อนที่จะรัวคำบ่นใส่ลูก
      
       - ให้เวลาลูกบ้าง เมื่อถามแล้วลูกเงียบ อย่าคิดว่า การที่ลูกอ้ำอึ้งเป็นการปิดบัง ลูกอาจกำลังคิดว่าจะพูดกับคุณอย่างไรเพื่อให้คุณเข้าใจและไม่โกรธ ไม่ดุเขา
      
       เรามาเป็นพ่อแม่ที่ลูกถามได้ คุยได้กันดีกว่า คงไม่มีใครอยากเป็นพ่อแม่ที่ลูกไม่อยากเข้าหา หรือคุยด้วย จริงไหมครับ
      
       ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากคู่มือการจัดกิจกรรมการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครองกับบุตรหลานเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน
ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000102670

เมื่อลูกขี้แยเป็นนิสัย เอาแต่ใจเป็นที่สุด


Q&A : เมื่อลูกขี้แยเป็นนิสัย เอาแต่ใจเป็นที่สุด
คำถาม : ลูกชายวัย 3 ขวบ 10 เดือนแล้วค่ะ ตอนนี้งอแงร้องไห้แล้วก็เอาแต่ใจมาก ๆ เวลาร้องไห้จะชอบพูดคำเดิมๆ เช่น ถ้าไม่ให้เปิด ขวดนมเองก็จะพูดว่า ทำไม ทำไม ไม่หยุดค่ะ และตอนนี้ก็ติดดูการ์ตูนในคอมพิวเตอร์ด้วย ไม่รู้จะทำอย่างไรดีค่ะ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ
      
       คุณหมอสินดี : เด็กวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ค่ะ ไม่น่าแปลกใจที่เขาจะใช้วิธีร้องไห้ งอแง เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ ซึ่งตอนนี้คงต้องขึ้นกับคุณพ่อคุณแม่ในการสอนเขา ว่า ต้องทำอย่างไรถึงจะได้ หรือที่เราไม่ให้เพราะอะไร หากเขาไม่ฟังเพราะกำลังโกรธมากๆ อย่างกรณีลูกชายของคุณแม่บอกว่า เขาจะพูดคำเดิมๆ เวลาโมโห (เพราะตอนนั้นเด็กกำลังโกรธมากก็อาจหลุดเป็นคำพูดซ้ำๆ เพื่อแสดงความเสียใจหรือไม่ยอม) คุณควรรอให้เขาสงบก่อนค่ะ จึงค่อยบอกว่า ทำไมไม่ให้เปิด ไม่ควรพยายามอธิบายตอนที่เขาโมโห เพราะเขาไม่ได้ฟังเรา
      
       แต่!! ถ้าเป็นไปได้พยายามอย่าให้ลูกเห็นขวดนมตั้งแต่แรกหรือเราเปิดรอไว้เลยจะดีกว่าค่ะ เพราะเด็กวัยนี้เกินครึ่งอยากทำเองทุกอย่าง ดังนั้น เราก็ต้องมีเหตุผลพอ หรือถ้าคิดว่าการเปิดขวดนมเองของเขาไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร คุณแม่อาจจะลองให้เขาทำเอง ซึ่งถ้าหกเลอะ เขาเองก็จะได้เรียนรู้จากเหตุการณ์จริงไปเลยและเขาต้องรับผิดชอบโดยการเอาผ้ามาเช็ดด้วย ซึ่งคุณแม่ก็อาจช่วยได้บ้างเล็กน้อยแต่ไม่ใช่ทำให้ทั้งหมดค่ะ
      
       ส่วนอีกเรื่องคือ ติดดูการ์ตูนในคอมพิวเตอร์ หมอขอถามสั้นๆ ว่า เขาจะติดหรือไม่ ถ้า ไม่มีคอมพิวเตอร์ ถ้า ลูกเปิดดูไม่ได้ ถ้า การเล่นกับพ่อแม่สนุกกว่าการ์ตูน ถ้า ออกไปเล่นนอกบ้านสนุกกว่า หมอเข้าใจค่ะว่าวิถีชีวิตยุคใหม่เราคงไม่สามารถจำกัดสิ่งเหล่านี้ออกจากตัวเด็กได้ ทั้ง smartphone, tablet, notebook ฯลฯ แต่สิ่งที่เราทำได้ คือ ควบคุมการใช้ให้เป็นเวลา อย่าให้มีอิทธิพลกับเขาจนรู้สึกว่าสนุกกว่าการเล่นของเล่นอย่างอื่น การเล่นกับเด็กคนอื่น หรือการเล่นกับพ่อแม่ หมอเชื่อว่าคุณทำได้ค่ะ ลูกเพิ่งอายุ 3 ปีกว่า เขายังเป็นวัยที่ดูเราเป็นต้นแบบและยังชอบการเล่นสมมติ เล่นแบบมีปฏิสัมพันธ์ มากกว่าการสื่อสารทางเดียวกับทีวี หรือเกมค่ะ
      
ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000102098

ข้อคิดสำหรับพ่อแม่เตรียมรับมือเมื่อลูก ป.1 ได้แท็บเล็ต



ข้อคิดสำหรับพ่อแม่เตรียมรับมือเมื่อลูก ป.1 ได้แท็บเล็ต/สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน
สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกอยู่วัยประถมหนึ่ง อ่านข่าวชิ้นนี้แล้วรู้สึกอย่างไร ?
      
       “ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม มีการวิพากษ์วิจารณ์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จากกรณีมีการเผยแพร่ ภาพที่อ้างว่า เป็นแท็บเล็ตพีซี ที่รัฐบาลแจกให้กับเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 มาทดสอบการสกัดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ลามกอนาจาร โดยผู้ทดสอบ (ขอสงวนนาม) ได้อ้างว่า นำเครื่องแท็บเล็ตสำหรับแจกจ่ายให้นักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ที่มารดานำกลับมาจากการอบรมมาทดสอบ โดยทดลองเข้าเว็บโป๊แห่งต่างๆ ซึ่งปรากฏว่า สามารถเข้าไปใช้บริการเว็บลามกอนาจารต่างๆ ได้ทุกเว็บที่ลองทดสอบ
      
       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รวมทั้ง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ระบุว่า มีการบล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์ลักษณะดังกล่าวหมดแล้ว โดยเด็กนักเรียนที่ใช้แท็บเล็ตพีซีที่รัฐบาลแจกให้ จะสามารถเข้าได้เฉพาะเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนเท่านั้น จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้อง”
      
       ข่าวชิ้นนี้ถูกขยายผลมาจากสังคมออนไลน์ที่ได้มีการส่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว แม้เด็กบางคนยังไม่ได้เครื่องแท็บเล็ตแต่สำหรับคนเป็นพ่อแม่ก็อดกังวลใจไม่ได้ว่าจะเป็นเช่นนี้จริงหรือ..!!
      
       ประเด็นเรื่องการเข้าถึงเว็ปไซต์ที่ไม่เหมาะสมของเด็กวัยประถมหนึ่ง เป็นเรื่องที่นักวิชาการและผู้ที่อยู่ในแวดวงคนที่ทำงานเด็กกังวลใจตั้งแต่ที่รู้ว่ามีนโยบายแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่ง และเชื่อว่า ปัญหาจะค่อยๆ ผุดออกมาเรื่อยๆ เมื่อเด็กได้รับและนำไปใช้แล้ว
      
       ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ประเด็นที่ถูกจับตาและมุ่งเน้น จะเป็นเรื่องของระบบ เครือข่าย ไวไฟที่ไม่ทั่วถึง ระบบไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ ไม่มีปลั๊กไฟ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องระบบ โครงสร้างที่ยังไม่ได้เตรียมพร้อม หรือรองรับได้อย่างทันท่วงที แต่เจ้าแท็บเล็ตก็มาถึงแล้ว
      
       แต่ประเด็นใหญ่ที่น่ากังวลใจมากกว่า และถูกละเลยมองข้าม ก็คือ เมื่อเจ้าแท็บเล็ตถึงมือของหนูน้อยวัยประถมหนึ่งเมื่อพวกเขายังไม่พร้อม จะเกิดอะไรขึ้น ?
      
       ปัญหาไม่ได้เกิดให้เห็นทันที เหมือนประเภทไม่มีไฟก็ใช้ไม่ได้ แต่มันคือปัญหาทางด้านพฤติกรรม ปัญหาทางด้านสติปัญญา ปัญหาสังคม ที่มันจะตามมาอีกมากมาย และมันจะส่งผลระยะยาว กลายเป็นปัญหาของเด็กรุ่นใหม่ที่จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน
      
       ก่อนหน้านี้ ดิฉันได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ Bill Gates (บิล เกตส์) ซึ่งถือเป็นเจ้าแห่งไอทีอีกคนหนึ่ง เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft กลับมีความคิดเห็นที่น่าสนใจยิ่ง ซึ่งถ้าจะสามารถกระตุกให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเราได้คิดสักนิดก็ยังดี..!!!
      
       บิลเกตส์ ให้สัมภาษณ์ กับ เว็บไซต์ The Chronicle of Higher Education ในประเด็นการแจกแท็บเล็ตมาใช้ในการสอนว่า
      
       “หากเป็นแท็บเล็ตไว้แจกตัวเครื่องให้นักเรียนอย่างเดียว นับว่าเป็นเรื่องที่แย่มาก มันไม่ได้ช่วยให้การศึกษาดีขึ้นเลย มันจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งหลักสูตรและตัวบุคลากรครูผู้สอนไปพร้อมๆ กัน ยิ่งอุปกรณ์อย่างแท็บเล็ตไม่มีคีย์บอร์ดก็ไม่เหมาะสำหรับการศึกษา เพราะแท็บเล็ตไม่ใช่แค่มีไว้อ่านเหมือนหนังสือ แต่มันเป็นการสื่อสารที่ต้องใช้การโต้ตอบ เพื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งแนะนำให้ใช้พีซีราคาถูก เป็นคำตอบที่ดีและเหมาะสมกว่า ถ้าเราสามารถปรับปรุงด้านหลักสูตรให้ดีขึ้น มีความพร้อม และสร้างระบบ และมีนโยบายเพื่อการเข้าถึงหลักสูตรเหล่านั้น ตัวอุปกรณ์นั้นจะเป็นคอมพิวเตอร์ให้ยืมจากห้องสมุดก็สามารถใช้งานได้”
      
       จะว่าไปก็สอดคล้องนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางด้านเด็กที่ก่อนหน้านี้ออกมาทักท้วงเรื่องความไม่เหมาะสม และความไม่พร้อมของเด็กประถมหนึ่ง เพราะยังไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมในทุกด้านและทุกมิติมาก่อน แต่สุดท้ายนโยบายเรื่องนี้ก็คลอดออกมาอย่างรวดเร็ว และทุกอย่างก็ดูเร่งรีบไปซะทุกเรื่อง โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นประเด็นถูกจับตาอย่างมาก
      
       และ..วันนี้แท็บเล็ตก็ทยอยแจกถึงมือเด็ก ป.1 กันแล้ว
      
       คำถามคือ จากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นำเจ้าเครื่องแท็บเล็ตมาใช้?
      
       ความจริงเรื่องการแจกแท็บเล็ตก็มีข้อดีอยู่บ้าง เพราะเป็นการช่วยเหลือกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสได้เข้าถึงข้อมูลทางเทคโนโลยีได้มากขึ้น เพราะเราก็ปฏิเสธโลกเทคโนโลยีไม่ได้แล้ว แต่คำถามหรือคำทักท้วงก็คือ ทำไมต้องเป็นเด็กประถมหนึ่ง ยิ่งถ้าเป็นเด็กชนบท เด็กที่ขาดโอกาส หรือเด็กที่ยังไม่พร้อม ยิ่งไม่เหมาะ เพราะเด็กบางคนยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้อีกต่างหาก
      
       นโนบายนี้จะเกิดประโยชน์อย่างมากถ้ามีการแจกในวัยที่เหมาะสม และมีการศึกษาถึงผลกระทบที่จะตามมาอย่างรอบด้านเสียก่อน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วนของสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อเรื่องนี้ให้ชัดเจน และทำความรู้ความเข้าใจกับพ่อแม่กับสังคมให้ได้อย่างทั่วถึงเสียก่อน

       แม้ในที่สุดภาครัฐจะยังไม่ได้เตรียมรับมือใดๆ หรือไขคำทักท้วงแต่ประการใด เจ้าแท็บเล็ตก็มาถึงมือของเด็กประถมหนึ่งกันแล้ว
      
       ฉะนั้น เป็นหน้าที่ของพ่อแม่เองแล้วว่า ควรต้องเตรียมรับมืออย่างไรให้รู้เท่าทัน
      
       หนึ่ง ต้องไม่ปล่อยให้เด็กใช้แท็บเล็ตลำพัง ควรมีผู้ใหญ่อยู่ด้วยทุกครั้ง เพื่อให้คำแนะนำที่ถูกวิธี
      
       สอง กำหนดระยะเวลาในการใช้งาน หรือสร้างกฎกติกาภายในบ้านร่วมด้วย โดยอาจให้ลูกมีส่วนร่วมกันกำหนดด้วยก็ได้
      
       สาม สอนให้ลูกใช้งานให้ถูกวิธี ทุกครั้งที่ใช้ควรอยู่ในสถานที่ๆ มีแสงสว่างเพียงพอ และมีระยะห่างกับจอพอสมควร มิฉะนั้น เด็กจะต้องใช้สายตาเพ่งมาก
      
       สี่ อย่าให้หมกมุ่นกับแท็บเล็ต จนไม่ได้ออกไปวิ่งเล่นหรือออกกำลังกาย สุดท้ายจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพตามมา มักกลายเป็นเด็กอ้วน หรือเด็กที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง
      
       ห้า ให้แบ่งเวลาสำหรับการอ่านหนังสือเป็นประจำ อาจกำหนดช่วงเวลาด้วยเพื่อปลูกฝังให้ลูกไม่ทิ้งเรื่องการอ่านหนังสือด้วย
      
       หก หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกด้วย เพราะเด็กบางคนที่เสพติดคอมพิวเตอร์ เสพติดเกม หรือเสพติดเทคโนโลยี มักจะเป็นคนที่หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว หรืออาจเคยชินกับความรวดเร็ว ก็อาจไม่รู้จักการรอคอย ถ้าอยากได้อะไรก็ต้องให้ได้ทันที ฯลฯ
      
       เจ็ด สำคัญที่สุด คือ พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านต้องให้คำแนะนำเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสม ต้องคอยสอดส่องและควบคุมการใช้งาน อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าเจ้าเครื่องนี้มีทั้งประโยชน์และโทษอย่างไร ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีจะนำไปสู่อะไร
      
       ในเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์จริง และลูกก็ได้รับแจกแท็บเล็ตด้วย พ่อแม่มีความจำเป็นต้องรู้เท่าทันและเตรียมรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ต้องแปรวิกฤติให้เป็นโอกาสซะเลย แต่คนเป็นพ่อแม่ต้องมีความรู้ และหาข้อมูลให้เท่าทันเทคโนโลยีด้วย
      
       หนักใจแทนพ่อแม่ยุคนี้จริงๆ เพราะนอกจากจะต้องรับมือเรื่องโลกการเรียนรู้ของลูกเองแล้ว ก็ยังต้องคอยรับมือกับนโยบายของภาครัฐที่ไม่รู้ว่าวันดีคืนดีจะแจกยาหอมหรือยาพิษให้กับลูกหลานของเราเมื่อไรอีก…!!!

ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000102082

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เคล็ดลับ 8 วิธี พิชิตโรคในเด็ก




เคล็ดลับ 8 วิธี พิชิตโรคในเด็ก
บทความโดย ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนปรารถนา คงอยากให้ลูกฉลาด เป็นคนดี และสุขภาพแข็งแรง หลายคนคงอาจสงสัยว่า ทำไมลูกของเพื่อนบ้านถึงแข็งแรงไม่ต้องพาไปหาหมอ ทำไมเพื่อนของลูกที่โรงเรียนถึงมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ วันนี้ผู้เขียนมีเคล็ดลับดีๆ 8 ประการ มาฝากท่านผู้อ่านดังนี้
      
       1.ล้างมือให้สะอาด ให้กฎข้อนี้ถือเป็นกฎเหล็กของบ้าน คือ ทุกคนต้องล้างมือให้สะอาด ล้างมือทุกครั้งหลังออกไปทำธุระนอกบ้าน ล้างมือหลังจากการใช้ห้องน้ำ ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร การล้างมืออย่างสม่ำเสมอช่วยลดการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจและระบบลำไส้รวมทั้งการย่อยอาหารได้ ฝึกให้ลูกล้างมือให้สะอาดจนเป็นนิสัย เมื่อกลับจากโรงเรียน หลังจากการเล่นเครื่องเล่นที่สนาม การเล่นกับสัตว์เลี้ยงในบ้าน โดยให้ลูกร้องเพลงช้าง 2 จบก่อนการล้างด้วยน้ำสะอาดครั้งสุดท้าย การขัด ถู ทั้งซอกเล็บ ง่ามนิ้วมือ ฝ่ามือ หลังมือเป็นเวลา 15-20 วินาทีถือเป็นเรื่องที่จำเป็น
      
       2.หลีกเลี่ยงการจับบริเวณใบหน้า หวัดและ Flu สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางปาก จมูก ตาและส่วนของบริเวณใบหน้า ดังนั้นให้เด็ก ๆ หลีกเลี่ยงการจับบริเวณดังกล่าว อาจเป็นการยากที่จะควบคุมในเรื่องเหล่านี้ แต่การล้างมือถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยป้องกันสิ่งเหล่านี้ได้ ฝึกเด็กๆ ที่จะไม่ใช้ช้อน ส้อม หลอด แก้วน้ำ หรือแปรงสีฟันร่วมกับคนอื่นๆ และฝึกเด็กๆ ให้ใช้ช้อนกลางในการตักอาหารด้วย
      
       3.แปรงฟันให้สะอาด สุขภาพของช่องปากถือเป็นสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม หากแบคทีเรียมีการสะสมตัวกันมากขึ้นจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้ รวมทั้งโรค มือ เท้า ปากในปัจจุบัน ดังนั้นควรรักษาสุขภาพฟันให้สะอาดอยู่เสมอ ให้เด็กมีโอกาสแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และหากแปรงหลังรับประทานอาหารกลางวันด้วยจะดีมาก
      
       4.นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและการพักผ่อนในระหว่างวันช่วยให้เด็กฉลาดและมีสุขภาพแข็งแรง โดยมีอัตราการนอนตามวัย ดังนี้ เด็กทารกจะนอนหลับเกือบตลอดทั้งวัน เมื่ออายุ 1 ขวบอัตราการนอนจะเท่ากับเวลาตื่นคือ 12 ชั่วโมง เมื่อโตขึ้นอัตราการนอนจะลดลงคือ 10 ชั่วโมง และในวัยรุ่นและผู้ใหญ่จะมีความต้องการในการนอน 7-8 ชั่วโมง
      
       5.ออกกำลังกายเป็นประจำ จากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและทำจนเป็นนิสัย ช่วยลดอัตราการเป็นหวัด หรือ Flu ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ ในระหว่างปีได้ถึง 25-50 % เพราะเชื้อโรคเหล่านี้มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วไป การออกกำลังกายเป็นเสมือนสิ่งมหัศจรรย์ในการรักษาโรค
      
       6.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในมื้อหนึ่ง ๆ ควรมีอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาหารเป็นเหมือนภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาหารที่ให้วิตามิน C เช่น บล็อกโคลี ส้ม สตรอเบอร์รี และวิตามิน D ในนม ไข่ เนย ควรรับประทานเป็นประจำด้วย
      
       7.พูดคุยเรื่องตลกๆ กับลูกๆ ข้อนี้ช่วยทางด้านอารมณ์ เพราะความเครียดทางอารมณ์ในเด็ก อาจส่งผลต่อร่างกายได้ การพูดคุยเรื่องตลก การหัวเราะ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาทสมองที่ทำให้เกิดการหลั่งสารที่ชื่อว่า endorphin ทำให้เกิดความสุข ส่งผลให้อารมณ์ดี สมองได้รับการกระตุ้นทำให้เกิดความคิดเชิงบวก สร้างสรรค์ และมีจินตนาการ มีผลทำให้ร่างกายและจิตใจได้รับการฟื้นฟู
      
       8.ไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนตามกำหนด มีวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Flu) อีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ และอื่นๆ ควรให้ลูกฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนด กรมควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การป้องกัน Flu ได้ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีน
      
       หากลูกมีสุขภาพดี คุณพ่อคุณแม่คงสบายใจและมีความสุข เคล็ดลับ 8 ข้อนี้คงไม่ยากเกินไป และเป็นการสร้างสุขนิสัยที่ดีให้แก่ลูกๆ ด้วย ข้อสำคัญคุณพ่อ คุณแม่ต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เด็กๆ เรียนรู้จากการกระทำมากกว่าคำพูด เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ
      
ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000090268

ลูกกินไม่สมดุล เสี่ยงโรคเรื้อรังในอนาคต!

ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ส่งผลให้เด็กหลายๆ คนมีปัญหาภาวะโภชนาการจนน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะการบริโภคอย่างไม่สมดุล ส่งผลให้เด็กในเมืองมีความเสี่ยงสูงต่อการด้อยพัฒนาการทางกายและสมอง ขาดวิตามิน และเกลือแร่ แต่ได้รับไขมันและคาร์โบไฮเดรตเกิน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของเด็กไทยที่พ่อแม่ควรเร่งปรับพฤติกรรมการบริโภคของลูก เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนก่อนสายเกินแก้
      
       ดร.ภญ.มาลิน จุลศิริ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คณะเภสัชกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยซนกำลังน่าเป็นห่วง เพราะวิถีชีวิตที่เร่งรีบทำให้หลายครอบครัวต้องซื้ออาหารจานด่วน ซึ่งส่วนใหญ่ขาดความสมดุลทางโภชนาการให้เด็กบริโภคอยู่ประจำ อีกทั้งเด็กจำนวนไม่น้อยนิยมบริโภคขนมและดื่มน้ำอัดลมจนติดเป็นนิสัย จากสถิติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าเด็กไทยใช้เงินซื้อขนมเฉลี่ยคนละ 9,800 บาทต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาที่จ่ายเพียงคนละ 3,024 คนต่อปี
      
       สำหรับพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องนั้น มักเริ่มตั้งแต่วัยก่อนเข้าเรียนคือ 4-5 ขวบ พอถึง 6 ขวบเด็กจะติดเป็นนิสัย และยิ่งโตขึ้นคุณพ่อคุณแม่ยิ่งมีความยากลำบากในการดูแลเด็กเหล่านี้ ทำให้บ่อยครั้งเด็กเกิดปัญหาขาดสารอาหารที่จำเป็น ขณะเดียวกัน เกิดปัญหาของโรคอ้วน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อุบัติการณ์โรคอ้วนในเด็กไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและตามสถิติดูเหมือนเร็วที่สุดในโลก เคยมีรายงานว่าเด็กก่อนวัยเรียนอ้วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 เป็น 7.9 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 และเด็กวัยเรียนอายุระหว่าง 6-13 ปี อ้วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 เป็น 6.7 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ภายในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านๆ มา ทั้งยังพบว่าเด็กไทยมีเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยมาตรฐานที่ระดับ 90 มีมากถึง 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25
      
       “ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก นอกจากส่งผลต่อการพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของเด็กแล้ว ถ้าปล่อยให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องโดยไม่รีบแก้ไข จะส่งผลต่อสุขภาพของเด็กดังกล่าวเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ด้วย โดยจะเกิดปัญหาของโรคเรื้อรังง่ายขึ้น เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง ข้อเสื่อม เป็นต้น” ดร.ภญ.มาลิน เผยถึงปัญหาที่ตามมา



 


       ดร.ภญ.มาลิน บอกต่อไปว่า ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก แก้ไขไม่ยาก เพียงให้เด็กบริโภคอาหารที่เหมาะสมทุกวันโดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า ให้บริโภคคอาหารที่มีคุณค่า และในปริมาณที่เพียงพอ ถ้าไม่แน่ใจว่าเด็กจะบริโภคอาหารได้อย่างสมดุลทั้งในด้านคุณค่าสารอาหารและปริมาณสารอาหาร การให้เด็กบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพิ่มเติม เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กมีโอกาสได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาการของเขา
      
       “คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองอาจต้องพิจารณาให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเป็นตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาโภชนาการในเด็ก โดยพิจารณาผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นสำหรับเด็ก เช่น วิตามินบีชนิดต่างๆ ธาตุเหล็ก ฯลฯ รวมทั้งกรดอะมิโนจำเป็น เช่น ไลซีน เพื่อนำไปใช้เป็นองค์ประกอบในการสร้างโปรตีน นอกจากนี้ สารอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลหวานและไขมัน เช่น โอลิโกแซ็กคาไรด์ ฯลฯ ซึ่งถูกจัดเป็นใยอาหารชนิดละลาย ทั้งยังช่วยในการขับถ่ายด้วย”
      
       ถึงกระนั้น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมักมีรสหวานและกลิ่นหอม ในส่วนนี้ ดร.ภญ.มาลิน บอกว่า คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรดูว่า ความหวานในผลิตภัณฑ์นั้นมาจากน้ำตาลหรือไม่ ถ้าใช่น่าจะพิจารณาให้ดี เพราะการบริโภคบ่อยๆ อาจเกิดปัญหาจากน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ตามมาได้ เช่น เกิดเป็นกรดในน้ำลายและก่อปัญหาฟันผุในภายหลัง
      
       “โอลิโกแซ็กคาไรด์ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นสามารถให้ความหวาน แต่ไม่เกิดปัญหาแบบน้ำตาล สารอาหารชนิดนี้มีคุณสมบัติที่น่าสนใจ คือ การเป็นพรีไบโอติกซึ่งจะไม่ถูกย่อยและดูดซึมในลำใส้เล็ก จึงไม่ก่อปัญหาการถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสม แต่จะลงไปที่ลำใส้ใหญ่ เป็นอาหารให้จุลินทร์ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มนี้เพิ่มขึ้น ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังช่วยการขับถ่าย และเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายด้วย” ดร.ภญ.มาลิน กล่าวเสริม
      
       ถ้าไม่เร่งปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องให้เด็กในวันนี้ ประเทศไทยอาจต้องรับมือกับภาวะประชากรที่ขาดสุขภาพดีในวันหน้า และทำให้ต้องสูญเสีย ทั้งคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชาติในการดูแลบุคคลเหล่านี้ ทางที่ดี คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง รวมทั้งสังคมที่เกี่ยวข้องต้องช่วยการดูแลลูกหลาน โดยเฉพาะการบริโภคอาหารให้สมดุล และครบทั้ง 5 หมู่

ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000091477

สมองมนุษย์พัฒนาเพราะ “รัก” ไม่ใช่เงินหรือการเรียนพิเศษ




สมองมนุษย์พัฒนาเพราะ “รัก” ไม่ใช่เงินหรือการเรียนพิเศษ
หากมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์จะหยุดความเร็วลงสักหน่อย ใช้ความสังเกตมากสักนิด เราคงสังเกตพบความผิดปกติบางประการที่กำลังเกิดกับเด็กๆ ในปัจจุบัน นั่นก็คือ สถิติของการเกิดโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD) ที่กำลังเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กกลุ่มที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ขาดแคลนความรัก หรือก็คือ เด็กที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งตั้งแต่แรกเกิด
      
       โดยนักวิจัยพบว่า ในระบบประสาทส่วนกลางของสมองของเด็กกลุ่มที่เติบโตมาในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้านั้น จะมีเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นสีเทา (Grey Matter) และส่วนที่เป็นเนื้อสีขาว (White Matter) น้อยกว่าเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวปกติ และสาเหตุที่ทำให้การพัฒนาของสมองเด็กเป็นไปเช่นนั้น ก็เพราะสภาพแวดล้อมภายในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้านั้น “ขาดแคลนสิ่งที่เอื้อต่อการพัฒนาของสมอง” ทั้งในด้านบุคลากรที่มีไม่พอเพียง และสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กไม่ได้รับการกระตุ้นใดๆ ทำได้เพียงนอนเงียบๆ อยู่ในเตียงของตัวเอง หรือไม่ก็ต้องร้องไห้จนเสียงแหบเสียงแห้งกว่าจะได้สิ่งที่ตนเองต้องการ
      
       ความขาดแคลนเหล่านั้นจึงทำให้สามารถอธิบายได้ว่า เพราะเหตุใดเด็กที่อาศัยอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กจึงมีแนวโน้มจะเกิดโรคสมาธิสั้น หรือความผิดปกติทางจิตอื่นๆ ขึ้นมาได้ง่ายกว่าเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวอันอบอุ่น
      
       สำหรับระบบประสาทส่วนกลางนั้น ประกอบด้วย เนื้อเยื่อสมองส่วนสีเทา (Grey Matter) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อสมองที่อยู่รอบนอกของสมอง ส่วนเนื้อเยื่อสมองส่วนสีขาว (White Matter) นั้นจะอยู่ส่วนในของสมอง และทั้งสองส่วนประกอบด้วยเซลล์ประสาทเช่นเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงว่า ในส่วนของเนื้อเยื่อสีเทานั้นหน้าที่หลักเป็นการประมวลผล ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ความจำ ทักษะการพูด ฯลฯ ส่วนเนื้อเยื่อสีขาวจะทำหน้าที่ในการรับส่งสัญญาณจากอวัยวะส่วนต่างๆ ไปยังสมองโดยตรง รวมถึงการควบคุมการทำงานของอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อุณหภูมิของร่างกาย เป็นต้น (อ้างอิงจาก http://www.differencebetween.net/science/health/difference-between-grey-and-white-matter)
      
       นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบด้วยว่า เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กนั้น จะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่ามาตรฐาน และมีทักษะทางการใช้ภาษาด้อยกว่าผู้ที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีความรักความอบอุ่นอีกด้วย
      
       ดร.ชาร์ลส์ เนลสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา จากบอสตัน กล่าวว่า การศึกษาชิ้นนี้พบช่วงเวลาที่สำคัญของสมองมนุษย์ นั่นก็คือ ช่วง 2 ปีแรกของชีวิต และการดูแลของสถานรับเลี้ยงเด็กก็ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาที่สำคัญยิ่งของสมองของเด็กๆ เหล่านั้น
      
       “สิ่งที่สามารถอธิบายได้ถึงปัญหาทางพัฒนาการที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนที่สุด ก็คือ สถานรับเลี้ยงเด็กที่ถูกทอดทิ้งนั้นขาดแคลนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อันเป็นส่วนสำคัญที่กระตุ้นให้สมองของมนุษย์เกิดการพัฒนา”
      
       ปัจจุบันมีพ่อแม่จำนวนมากที่ต้องการให้ลูกของตนเองแสดงความเป็นอัจฉริยะในด้านใดด้านหนึ่งออกมา และพยายามหาวิธีต่างๆ มากมายในการพัฒนาศักยภาพของสมองลูก แต่สำหรับเด็กกำพร้า พวกเขาไม่เพียงแต่ขาดความรักความเอาใจใส่ แต่สิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างสมองก็ยังไม่ได้รับโอกาสในการเติบโตอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างมาก
      
       การวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และโรงพยาบาลเด็กแห่งบอสตัน สหรัฐอเมริกา

ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000091121

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผลวิจัยชี้พ่อที่สูบบุหรี่ เสี่ยงทำให้ลูกเป็นมะเร็งผ่าน DNA



ผลวิจัยชี้พ่อที่สูบบุหรี่ เสี่ยงทำให้ลูกเป็นมะเร็งผ่าน DNA

การสูบบุหรี่ นอกจากจะทำให้ตัวผู้สูบและคนที่อยู่รอบข้างนั้นมีโอกาสเป็นมะเร็งได้แล้ว ยังอาจทำให้เด็กที่ยังไม่ได้มีโอกาสออกมาลืมตาดูโลก มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งผ่านดีเอ็นเอ (DNA) ของผู้เป็นพ่อที่สูบบุหรี่ได้อีกด้วย ตามรายงานจากผลการศึกษาล่าสุดในประเทศอังกฤษ

ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นผลงานของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยแบรดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ระบุในรายงานเอาไว้ว่า พวกเขาอยากเตือนให้หนุ่ม ๆ สิงห์อมควันทั้งหลายได้ทราบถึงโทษของการสูบบุหรี่ให้ทราบว่า นอกจากจะเป็นสิ่งที่ทำร้ายสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้างแล้ว ควันบุหรี่ที่สูดดมเข้าไปนั้นจะเข้าไปสร้างความเสียหายให้กับดีเอ็นเอของคุณพ่อ ซึ่งยีนส์ที่ได้รับความเสียหายเหล่านี้ สามารถถ่ายทอดไปยังเด็กที่อยู่ในท้องได้ หากว่าเขามีเพศสัมพันธ์กับภรรยาจนเกิดการปฏิสนธิขึ้นมา

ทางด้านด็อกเตอร์ไดอาน่า แอนเดอสัน กล่าวว่า เซลล์สเปิร์มของผู้ชายจะใช้เวลาราว 3 เดือนในการพัฒนาตัวเองอย่างเต็มที่ ซึ่งหลังจากนั้นหากสามีที่สูบบุหรี่ไปมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาจนเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น เด็กตัวน้อย ๆ ที่อยู่ในท้องของแม่ อาจได้รับผลกระทบจากดีเอ็นเอที่ได้รับความเสียหายของพ่อมาด้วยนั่นเอง

ดังนั้น ผู้ชายที่อยากจะเป็นคุณพ่อของลูกที่มีสุขภาพแข็งแรง ควรเลิกสูบบุหรี่อย่างน้อยเป็นเวลา 3 เดือน ก่อนวางแผนมีลูก เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของโรคมะเร็งที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก รวมทั้งโรคลูคีเมีย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ควรเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาดไปเลยเสียดีกว่า ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพของตัวเองด้วย

ที่มา
http://men.kapook.com/view42975.html

โพลชี้ วัยรุ่นไทยกว่า 50% ขาดความรู้เรื่องเพศ

โพลชี้ วัยรุ่นไทยกว่า 50% ขาดความรู้เรื่องเพศ

โพลสถาบันรามจิตติชี้ วัยรุ่นไทยกว่า 50% นิยมสวยผอม คิดใช้ยาลดความอ้วนและศัลยกรรม ยอมรับการมีกิ๊ก ส่วนใหญ่ขาดความรู้เรื่องเพศ

วันนี้ (9 กรกฎาคม) นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาสถาบันรามจิตติ เปิดเผยถึงผลการสำรวจสภาวการณ์เด็กและเยาวชนไทย ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 จากกลุ่มตัวอย่างเด็ก 20,000 คน ใน 4 ช่วงอายุ จาก 20 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมทั้งสะท้อนปัญหา ซึ่งผลมีดังนี้

สภาวการณ์ด้านสุขภาพ พบว่า เยาวชนระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย ที่กินอาหารเช้าเป็นประจำ มีเพียงร้อยละ 50 เมื่อขึ้นอุดมศึกษาจะเหลือเพียงร้อยละ 37 และเด็กที่กินผักเป็นประจำทุกมื้อ มีเพียง 1 ใน 3 ของเด็กทั้งหมด นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กยังมีค่านิยมสวยผอม โดย 1 ใน 3 คน มีความคิดใช้ยาลดความอ้วนและทำศัลยกรรม

ส่วนสถานการณ์ภาวะเครียดพบว่า เด็กในระดับมัธยมถึงอุดมศึกษา ประมาณ 1 ล้านคน มีอาการซึมเศร้าและหงุดหงิดไม่รู้สาเหตุ และเกือบร้อยละ 50 เคยมีอาการเครียดจนปวดท้องหรืออาเจียน นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กมีความสุขในการไปเรียนลดลง สะท้อนให้ระบบการศึกษาต้องมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งควรปรับการจัดการศึกษาในโรงเรียน ให้กรอบไม่แน่นเกินไป เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางเลือกที่หลากหลายให้เด็กมีทางออกจากความเครียด สร้างความสุขในการใช้ชีวิต ก่อให้เกิดศักดิ์ศรีและเคารพในตัวเอง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนได้ในเวลาเดียวกัน

ส่วน สถานการณ์เรื่องเพศสัมพันธ์ เด็กและเยาวชนเข้าสู่การมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 24 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 35 ในปี 2554 ขณะเดียวกันจากการสำรวจในปี 2554 พบว่าเด็กถึงร้อยละ 27 มีเพื่อนสนิทเคยตั้งท้องหรือเคยทำแท้ง และมีเด็กไทยถึง 1 ใน 4 ที่รู้สึกว่าการมีกิ๊ก หรือมีแฟนหลาย ๆ คนพร้อมกันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ สะท้อนถึงพฤติกรรมและค่านิยมของเด็กจำนวนมากที่ยังสุ่มเสี่ยงต่อการสร้าง ปัญหาให้ตนเอง

นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กยังขาดความรู้เรื่องเพศ มีเพียงร้อยละ 53 เท่านั้นที่รู้ถึงข้อจำกัดและความเสี่ยงในการใช้ถุงยางอนามัย และมีเด็กเพียงร้อยละ 57 ที่ยอมรับการพกถุงยางอนามัยติดตัว นอกจากนี้มีเด็กเพียง 1 ใน 4 ที่รู้สึกว่าได้เรียนรู้เรื่องเพศอย่างพอเพียงจากโรงเรียน

ในส่วนสถานการณ์ความรุนแรงในเด็กและเยาวชนไทยในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า ในจำนวนเด็กในระดับมัธยมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศกว่า 7 ล้านคน พบว่ามีเด็กและเยาวชนกว่า 700,000-1,000,000 คน ตกอยู่ในภาวะความรุนแรงในโรงเรียน เช่น ถูกขู่กรรโชกทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และการทะเลาะวิวาทกับเพื่อนนักเรียน ทั้งยังมีเด็กที่พบเห็นการพกพาอาวุธร้ายแรง เช่น ปืน มีดดาบ ระเบิดทำเอง เข้ามาในสถานศึกษาเป็นอัตราส่วนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว นอกจากนี้ สื่อยังมีอิทธิพลอย่างสูงต่อเด็กไทย โดยใช้เวลาดูโทรทัศน์ คุยโทรศัพท์ เล่นอินเทอร์เน็ตรวมกันกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน และที่น่าสนใจคือ เด็กกว่าร้อยละ 50 นิยมดูละครโทรทัศน์ จึงจำเป็นต้องสร้างสื่อเพื่อสะท้อนการใช้ชีวิตอย่างฉลาด ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง

ที่มา
http://women.kapook.com/view43648.html

ทำไมลูกน่ารักกับคนอื่น แต่ก้าวร้าวกับพ่อแม่

คำถาม :
ดิฉันมีหลานชายค่ะ เขาเคยอยู่กับคุณยายที่ต่างจังหวัดอยู่พักหนึ่ง เมื่อพามาอยู่กรุงเทพฯ เพี่อเรียนเตรียมอนุบาล หลานคนนี้จะได้รับการดูแลจากพ่อแม่อย่างตามใจ รวมไปถึงคุณย่า และญาติ ๆ ของเขาด้วย เมื่ออยู่กับย่าหรือคุณป้า เขาจะเรียบร้อย เชื่อฟัง แต่พออยู่กับพ่อแม่หลังเลิกงานและวันเสาร์-อาทิตย์ เด็กมักจะเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นก้าวร้าว เอาชนะพ่อแม่ และทำพฤติกรรมตรงกันข้ามทุกอย่าง เช่น ไม่เชื่อฟัง ทิ้งของ อิจฉาพี่ ไม่ยอมให้แม่สอนการบ้านพี่ แย่งของพี่ทุกอย่าง พฤติกรรมแบบนี้ จะแก้ไขอย่างไรดีค่ะ

ปล. เหมือนเด็กตี 2 หน้า พ่อแม่แพ้ตลอด ต้องพูดจาดี ๆ แต่ได้รับการโต้ตอบที่ต้องการเอาชนะ พฤติกรรมบางอย่าง พ่อแม่ก็ต้องลงโทษด้วยการตีบ้าง ลงโทษให้ออกไปนอกห้องบ้าง แต่เด็กก็จะอาละวาด ทุบเตะประตูร้องไห้เสียดัง เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำอย่างไรดีคะ เห็นแล้วเหนื่อยใจแทนพ่อแม่เขามาก ๆ


คำตอบ :
ผู้ถามไม่ได้แจ้งว่าหลานอายุประมาณเท่าไร แต่เข้าใจว่าคงเตรียมอนุบาลใช่ไหมค่ะ สิ่งที่เล่ามาเป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในวัยนี้ค่ะ เพราะเป็นวัยที่ต้องการทดสอบว่าตนเองสามารถทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์หรือความต้องการของตนเองได้ พฤติกรรมนี้จะมากหรือน้อยขึ้นกับการฝึกวินัยก่อนหน้านี้และสัมพันธภาพระหว่างคนในครอบครัวค่ะ

อย่างไรก็ตาม คงต้องถามพ่อแม่ว่ามีวิธีรับมือกับพฤติกรรมเหล่านี้อย่างไร เพราะพฤติกรรมที่มีปัญหาของเด็กต้องมีที่มาที่ไปเสมอค่ะ (ไม่แน่ใจว่าก่อนหน้านี้ที่เด็กอยู่ต่างจังหวัด พ่อแม่ได้มีการไปมาหาสู่บ่อยแค่ไหน หลังจากกลับมาอยู่กรุงเทพ คุณยายได้มาเยี่ยมบ้างหรือไม่ หรือเมื่อเด็กเกเร มีการขู่ว่าจะทิ้งหรือส่งกลับไปอยู่กับยายหรือไม่ การพูดกับเด็กแบบนี้ จะยิ่งทำให้เด็กมีปัญหาเพราะรู้สึกไม่มั่นใจในความรักของพ่อแม่ ที่หมอถามเรื่องนี้ เพราะพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กอาจสะท้อนถึงปัญหาความกังวลหรือเครียดได้เช่นกัน)

สำหรับ วิธีแก้ไข คงต้องให้พ่อแม่ยอมรับก่อนว่าพฤติกรรมของเด็กเป็นปัญหา และแนะนำให้เขาพาหลานไปให้กุมารแพทย์หรือจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อประเมินและช่วยกันหาสาเหตุ แพทย์จะได้ให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือได้ตรงจุดค่ะ ส่วนวิธีทั่ว ๆ ไปในการหยุดเด็กที่กำลังอาละวาด ได้แก่ การเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่เรื่องอื่น เพื่อให้อารมณ์สงบลงก่อน หากไม่หยุดหรือไม่สามารถใช้วิธีเบี่ยงเบนได้แล้ว อาจลองทำเป็นเฉยๆ ไม่สนใจ ตราบใดที่ไม่มีการใช้กำลังทำร้ายตนเอง ผู้อื่น หรือทำลายข้าวของ ช่วงแรกเด็กอาจจะอาละวาดมากขึ้น แต่ในที่สุดถ้าเรายังคงหนักแน่น เด็กก็มักจะลดการอาละวาดลงเรื่อย ๆ เพราะรู้สึกว่าใช้ไม่ได้ผล

หากมีการทะเลาะกับพี่หรือลงไม้ลงมือกับอย่างอื่น ให้แยกเด็กออกไปก่อนเพื่อให้สงบสติอารมณ์ ไม่ควรตีเด็กขณะที่กำลังอาละวาดเพราะจะกลายเป็นเข้าใจว่า ความรุนแรงเป็นทางออกของปัญหา รอลูกอารมณ์ดีจึงสอนว่าเหตุใดไม่ให้ทำและต้องการให้เขาทำอะไรแทนพฤติกรรมเดิม


ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000089856

7 วิธีเก็บความทรงจำกับครั้งแรกของลูก




7 วิธีเก็บความทรงจำกับครั้งแรกของลูก
ความสุขของพ่อแม่ คือ คงไม่ขออะไรมากเท่ากับการได้อยู่ใกล้ ๆ ลูก และไม่อยากจะพลาดแม้แต่เสี้ยววินาที ตั้งแต่ลูกลืมตาออกมาดูโลก ซึ่งไม่ว่าอะไรก็ตามที่เป็นครั้งแรกของลูก ก็มักจะมีความหมายกับพ่อและแม่เสมอ เรื่องราวดี ๆ แบบนี้พ่อและแม่ก็อยากจะให้อยู่ในความทรงจำตลอดไป อยากถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราว ผ่านสิ่งต่าง ๆ รอบตัว จะมีวิธีไหนกันบ้างไปดูกันดีกว่าค่ะ
1.กล้องที่ดี
            เขาว่ากันว่า รูปที่ดี ต้องมาจากล้องที่ดีด้วย ดังนั้นคุณไม่อยากพลาดภาพสวย ๆ ไปหรอกนะคะ แต่เราก็ไม่ได้บอกให้คุณไปซื้อกล้องแพง ๆ เหมือนช่างกล้องมืออาชีพ เพราะปัจจุบันก็มีกล้องดิจิตอลคุณภาพดีให้คุณเลือกมากมาย ซึ่งสามารถถ่ายได้เท่าที่คุณต้องการ และเป็นกล้องที่มีราคาไม่สูงมากนัก อีกทั้งยังได้ไฟล์ภาพคุณภาพดี และสามารถเก็บไว้ได้นานอีกด้วย
2.ถ่ายภาพจากมือถือ
            หากคุณไม่อยากจะซื้อกล้อง สามารถใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือของคุณพ่อคุณแม่ถ่ายรูปแทนก็ได้ค่ะ บางรุ่นอาจจะถ่ายวิดีโอได้ด้วย ทั้งนี้ความยาวของวิดีโอและจำนวนภาพ ก็ขึ้นอยู่กับความจำในตัวเครื่อง หรือการ์ดเมมโมรี่ เอาไว้เก็บภาพสวย ๆ ของเจ้าตัวน้อยได้
3.การเก็บภาพ
            วิธีเก็บภาพสามารถทำได้สองวิธีคือ เก็บเป็นไฟล์ ใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์หรือซีดี ซึ่งวิธีนี้สามารถเรียกขึ้นมาดูเมื่อไหร่ก็ได้ คุณภาพของสีและความคมชัดก็ยังคงเหมือนเดิม นอกจากนี้ยังสามารถเก็บภาพได้ไม่จำกัด หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ล้างรูป แล้วเก็บสะสมไว้ในสมุดรวมภาพ วิธีนี้ก็น่ารักไปอีกแบบหนึ่งนะคะ
4.ทำสมุดให้ลูกรัก
            สมุดพิเศษที่จะเก็บทุกเรื่องราวของลูกเอาไว้ และทั้งภาพและความรู้สึกของพ่อกับแม่นับตั้งแต่วันที่ได้เห็นหน้าลูกครั้งแรก เขียนบรรยายสั้น ๆ ถ่ายทอดเป็นเรื่องราว เก็บเอาไว้อ่าน ในวันที่คิดถึง ให้รู้สึกอบอุ่นหัวใจกันอีกครั้ง
5.กล่องใส่ความทรงจำ
            เก็บทุกความทรงจำ ใส่ไว้ในกล่องมหัศจรรย์ และเปิดออกมาเมื่ออยากย้อนเวลาไปยังช่วงที่ลูกยังคงอยู่ในอ้อมกอดของเรา ทั้งของเล่นชิ้นแรกของลูก รองเท้าคู่แรกของลูก เสื้อผ้าชุดแรกที่ไปซื้อด้วยกัน หรือแม้แต่การ์ดใบแรกที่ลูกเขียนคำว่าพ่อกับแม่ลงไป ก็ยังประทับใจไม่รู้ลืม
6.บันทึกลงบนปฏิทิน
            การบันทึกสิ่งสำคัญของลูกลงไป เพื่อเตือนความจำ และเก็บเป็นบันทึกย่อ ถึงวันสำคัญต่าง ๆ ในชีวิตของเขา อย่างเช่น วันที่ลูกเริ่มเดินได้เองครั้งแรก หรือพูดคำว่า พ่อกับแม่ ครั้งแรก หลังจากที่คุณเฝ้ารอคำนี้มาแสนนาน วันพบญาติครั้งแรก ที่จะได้บอกใคร ๆ ว่าลูกของเราน่ารักขนาดไหน รวมทั้งนัดสำคัญต่าง ๆ กับคุณหมอ ที่ไม่สามารถลืมได้
7.ความทรงจำ
            สิ่งที่ง่ายที่สุดสำหรับบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ของลูก ก็คือ ความทรงจำของคุณพ่อคุณแม่ยังไงล่ะคะ กดเซฟ ใส่เอาไว้ในหัวใจ ให้นึกถึงบรรยากาศเก่า ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เคยไปด้วยกัน และถ่ายทอดความทรงจำเหล่านั้นผ่านเรื่องเล่า ในวันที่เขาโตเป็นผู้ใหญ่ ให้หวนนึกถึงกันได้อีกครั้ง
            เพราะลูกเป็นเสมือนดวงใจของพ่อแม่ และความรักก่อให้เกิดสิ่งดี ๆ ขึ้นมากมาย รวมทั้งเหตุการณ์ที่เป็นครั้งแรกของลูก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งไม่ว่าจะนึกถึงเมื่อไหร่ก็ยิ้มได้เสมอ อย่าลืมแบ่งปันสิ่งดี ๆ แบบนี้ให้กับคนในครอบครัวกันนะคะ  

ที่มา
http://baby.kapook.com/เรื่องน่ารู้คุณลูก-43943.html

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

“กาเฟอีน” ในขนมเด็ก..เรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

“กาเฟอีน” ในขนมเด็ก..เรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม




เมื่อพูดถึง “ขนม” เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเด็กไทยมานานมาก เริ่มตั้งแต่ขนมไทยหลากหลายชนิด แต่ทุกวันนี้ เราคงต้องยอมรับว่า สื่อโฆษณาต่างๆ ด้านขนมเด็ก ทำหน้าที่โหมกระหน่ำและมุ่งเป้าไปยังเด็กทุกวัย ทำให้ขนมเปลี่ยนรูปหน้ากลายเป็นขนมกรุบกรอบรสชาติถูกลิ้น เค้ก คุกกี้ ไอศกรีม ซึ่งขนมบางอย่างมีการนำวัตถุดิบธรรมชาติที่มีกาเฟอีนผสมลงไปด้วย เช่น เค้กรสกาแฟ รสช็อกโกแลต หากรับประทานในปริมาณมาก และบ่อยเกินไป อาจส่งผลต่อสุขภาพตามมาได้



ผศ.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี นักวิชาการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า ปัจจุบันกาเฟอีนในอาหารที่คนไทยรับประทานไม่ใช่มีเฉพาะน้ำชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมที่มีน้ำสีดำอย่างที่เข้าใจกัน แต่ในขนม และลูกอมต่างๆ เช่น ขนมเวเฟอร์ เค้ก คุกกี้ ลูกอมต่างๆ นม ไอศกรีม ก็ยังพบว่ามีกาเฟอีนผสมอยู่ ซึ่งกาเฟอีนเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทและมีผลกระทบต่อภาวะโภชนาการรวมถึงพัฒนาการของเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กวัยเรียนซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโต นับเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม



สำหรับสถานการณ์การบริโภคกาเฟอีนในเด็กไทย จากข้อมูลการสำรวจสภาวะพฤติกรรมสุขภาพเยาวชนอายุ 6-15 ปีของกองสุขศึกษา พบว่า เด็กและเยาวชนยังคงดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำทุกวัน 10.5 เปอร์เซ็น ดื่ม 5-6 วันต่อสัปดาห์ 28.4 เปอร์เซ็น ดื่ม 3-4 วันต่อสัปดาห์ 26.1 เปอร์เซ็น นอกจากนี้ยังหันมารับประทาน ช็อกโกแลต เค้ก คุกกี้ ไอศกรีม โดยคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่ามีกาเฟอีนผสมอยู่ ส่งผลให้มีปัญหาความจำ และสติปัญญาถดถอย บางรายสมาธิสั้นไม่สามารถจดจำข้อมูล และเรื่องราวที่เกิดขึ้นฉับพลันได้เป็นเวลานาน เด็กมักจะเหม่อลอย ไม่สนใจเรียน หากบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้สารกาเฟอีนเข้าไปทำลายจิตประสาท และความจำบางส่วนได้



นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาปริมาณการบริโภคกาเฟอีนจากขนมและลูกอมในแต่ละวันของเด็กจากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยทำการศึกษาเด็ก 2 กลุ่ม คือ ในกลุ่มอายุ 7-11 ขวบ และอายุ 12-17 ปี พบว่า เด็กอายุ 7-11 ขวบ มีพฤติกรรมกินขนมและลูกอมรวมสูงสุดใน 1 วัน 392.8 กรัม ทำให้ได้รับกาเฟอีนเฉลี่ย 60.8 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนในกลุ่มอายุ 12-17 ปี กินขนมและลูกอมรวมกัน 209.2 กรัม ทำให้ได้รับกาเฟอีนเฉลี่ย 23.1 มิลลิกรัมต่อวัน โดยในลูกอมรสกาแฟมีกาเฟอีน 2.7-3.2 มิลลิกรัมต่อเม็ด ลูกอมรสช็อกโกแลตมีกาเฟอีน 0.16 มิลลิกรัมต่อเม็ด นมรสช็อกโกแลตมีกาเฟอีน 12-14 มิลลิกรัมต่อกล่อง ขนมเวเฟอร์รสกาแฟมีกาเฟอีน 1.1-1.3 มิลลิกรัมต่อชิ้น และกาแฟมีกาเฟอีน 80-100 มิลลิกรัมต่อแก้ว



ทั้งนี้ มีรายงานด้วยว่า ขนาดของกาเฟอีนที่ทำให้เสียชีวิตได้ในเด็กเล็กประมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม นั่นหมายความว่า ถ้าเด็กหนัก 10 กิโลกรัม ปริมาณกาเฟอีนที่จะทำให้เสียชีวิต คือ 1,000 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมาก แต่ในทางปฏิบัติจริงคงไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ถ้าดูว่าการได้รับกาเฟอีนของเด็กอายุต่างๆ ในช่วง 7-17 ปีนั้นจะพบว่า เด็กกินขนมทุกอย่าง (ยังไม่รวมน้ำอัดลมสีน้ำตาลดำ และนมรสกาแฟหรือช็อกโกแลต) การได้รับกาเฟอีนยังไม่มากจนทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่ทางที่ดี เด็กไม่ควรได้รับกาเฟอีนเกินวันละ 2.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แสดงว่าถ้าเด็กมีน้ำหนักตัวประมาณ 10-15 กิโลกรัม ก็ไม่ควรได้รับกาเฟอีนเกิน 25-40 มิลลิกรัมต่อวัน



“ทุกวันนี้พฤติกรรมของเด็กไทยเปลี่ยนไปมาก โอกาสที่เด็กจะได้รับกาเฟอีนจากแหล่งอื่นๆ มีมากขึ้น ส่งผลให้เด็กได้รับกาเฟอีนในแต่ละวันเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและภาวะโภชนาการของเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กไทยมีโอกาสอ้วนมากขึ้น เพราะขนมเหล่านี้มีน้ำตาลและไขมันสูง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับการเลือกบริโภคขนมและลูกอม ตลอดจนคำนึงถึงปริมาณในการบริโภคขนมและลูกอมในแต่ละวันด้วย”



แม้ว่ากาเฟอีนไม่ได้จัดเป็นสารเสพติดตามความหมายของสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา และขององค์การอนามัยโลก (WHO) แต่นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ส่วนใหญ่เห็นว่า เด็กอาจติดในลักษณะของการกินจนเป็นนิสัย และทุกคนคงทราบกันดีว่า ขนมต่างๆ ในท้องตลาด ล้วนแล้วแต่เป็นขนมที่มีทั้งไขมัน และน้ำตาลสูงทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเค้ก ไอศกรีม คุกกี้ ลูกอม เวเฟอร์ และช็อกโกแลต ถ้าเด็กได้กินบ่อยๆ และเป็นการกินนอกเวลาอาหาร การที่ขนมเหล่านี้มีพลังงานสูงและมีน้ำตาลสูงก็จะทำให้เด็กรู้สึกอิ่มจนไม่อยากกินอาหารหลักที่มีสารอาหารครบถ้วน โอกาสที่จะเจริญเติบโตไม่เหมาะสมตามวัย และมีปัญหาโรคอ้วนเพิ่มเข้ามาได้สูง



ทิปหลีกเลี่ยงการบริโภค “กาเฟอีน”



- หลีกเลี่ยงขนมและเครื่องดื่มกาแฟ หรือรสช็อกโกแลตในการเลือกขนมและเครื่องดื่มให้เด็ก ควรเลือกรสวานิลาหรือรสผลไม้ที่สกัดจากธรรมชาติ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรเลือก milk chocolate มากกว่า dark chocolate



- ลองเขียนรายการอาหารและเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนผสมอยู่ และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะให้เด็กรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนตามรายการที่เขียนขึ้น แต่ถ้าเด็กอยากรับประทานจริงๆ ควรจำกัดปริมาณให้น้อยที่สุดและไม่ควรให้เด็กรับประทานหลังจากช่วงอาหารเย็น เพราะจะมีผลกระทบต่อการนอนหลับของเด็กได้



- ควรให้เด็กรับประทานของว่างที่คุณแม่ทำเอง เพราะการที่คุณแม่ทำของว่างและเครื่องดื่มให้ลูกรับประทานเอง จะช่วยหลีกเลี่ยงการบริโภคกาเฟอีน รวมทั้งมีคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของลูกด้วย



ที่มา

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000057048

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

เมื่อผิวลูกเกิดการอักเสบ

เมื่อผิวลูกเกิดการอักเสบ!

นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับเด็กเกือบทุกคนกับปัญหา “โรคผิวหนังอักเสบในเด็ก” เพราะหากมีการดูแลรักษาไม่ถูกวิธี อาจนำไปสู่การติดเชื้อ และเกิดการอักเสบจนบานปลายกลายเป็นแผลในวงกว้างได้ โดยเฉพาะการใช้ครีม หรือยา เป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

นพ.วิทยา อัศววิเชียรจินดา ผู้เชี่ยวชาญกุมารเวชศาสตร์ โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพญาไท 3 เปิดเผยถึงโรคผิวหนังอักเสบในเด็กเล็ก ว่า พบบ่อยในเด็กทารก หรือเด็กเล็ก อาการของโรค ผิวหนังจะแห้งและเกิดอาการคันร่วมด้วย ยิ่งเกาจะยิ่งเป็นมากขึ้น ผื่นจะเป็นๆ หายๆ ซึ่งอาการอาจแตกต่างกัน แต่มักจะเกิดผื่นตามข้อศอก ข้อพับบริเวณเข่า บริเวณมือ เท้า แขน ขา ลำตัว หนังศรีษะ หน้า หรือหลังใบหู ผิวหนังจะแห้งเป็นขุย อักเสบแดงและบวม บางครั้งอาจจะแตก หรือเป็นเกล็ดและตกสะเก็ด กรณีเด็กทารก มักจะพบผื่นอักเสบบริเวณแก้ม ลำคอ ด้านนอกของแขนและขาทั้งสองข้าง

สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่า กรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้อง และ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยจะเป็นโรคแพ้อากาศร่วมด้วย สิ่งแวดล้อมที่บ้าน โรงเรียน สิ่งที่ทำให้เกิดผื่นคัน เรียกว่า ตัวกระตุ้น ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุของโรค ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ละคนมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน เมื่อผิวหนังชั้นแรกแห้ง ผิวหนังจะเปราะบาง และอาจถึงขึ้นแตก จึงทำให้สิ่งแปลกปลอมภายนอกเข้าไปในร่างกาย ซึ่งทำให้ผิวหนังชั้นในเกิดความระคายเคือง และเกิดผื่นคันในที่สุด

ดังนั้น การรักษาจึงเป็นการรักษาผิวหนังที่แห้ง ผื่นคันระคายเคือง ให้กลับมาเป็นผิวหนังปกติ และป้องกันการเห่อซ้ำของผื่น ด้วยการรักษาความชุ่มชื้นของผิวให้คงอยู่สม่ำเสมอ เลี่ยงการอาบน้ำร้อน เพราะจะทำให้ผิวยิ่งแห้งและคันมากขึ้น ใช้ครีมอาบน้ำอ่อนที่มีฤทธิ์แก้คัน หรือเลือกสบู่ที่มีส่วนผสมของไขมันมากหน่อย หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นการเห่อของผื่น เช่น ความร้อนหรือเย็นเกินไป พวกไรฝุ่น อาหารบางชนิด โดยให้สังเกตว่า ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดผื่นมากขึ้นก็ควรหลีกเลี่ยง

“สัญญาณแห่งการติดเชื้อ ผิวหนังจะรู้สึกร้อนแดงขึ้น และอ่อนนุ่มกว่าปกติ มีผื่นเล็กๆ ขึ้นบนผิวหนัง บางรายแผลเป็นปื้นวงกว้าง อาจทำให้เกิดแผลติดเชื้อ อาการคันทำให้เด็กนอนไม่หลับ ก่อความรำคาญ เบื้องต้นควรใช้ผ้าชุบน้ำเย็นปิดบริเวณที่คันสักพักก่อน แล้วค่อยทาครีมบำรุงผิว ถ้าเกิดอาการมากอาจต้องให้ใช้สเตียรอยด์ ร่วมด้วยสัก 2-3 วัน แต่ใช้นานกว่านั้นอาจจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี”

ทางที่ดี ควรเลือกใช้ครีมที่ผลิตจากสารธรรมชาติ ซึ่งมีสารสติมูเทค-เอเอส ที่ได้จากพืช สารตัวนี้จะช่วยลดอาการผื่นคัน บวมแดงร้อนได้ดี และสารแซคคาไรด์ ไอโซเมอเรท ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง ทำให้มีความปลอดภัยสูง สามารถใช้กับเด็กเล็กๆ อายุตั้งแต่ 15 วัน ก็สามารถใช้ได้แล้ว โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการผื่นระดับน้อยถึงปานกลางใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ เมื่อหายแล้วก็ควรทาไปเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่

สำหรับกรณีที่เป็นผื่นแพ้ และมีอาการเห่อซ้ำบ่อยๆ อาจทาครีม เช่น ครีมอีเซอร์ร่า (Ezerra) หลังอาบน้ำทันที เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง หรือถ้าเริ่มมีอาการแสดงของผื่นภูมิแพ้ผิวหนังปรากฏ เช่น แห้งตึง คันยุบๆ ยับๆ มีอาการแสบๆ คันๆ ก็ให้ทาครีมซ้ำได้ทันที จะทำให้ผื่นลามช้าลง ช่วยลดและป้องกันการกำเริบของผื่น แต่การเลือกใช้ครีมบางตัวควรปรึกษาแพทย์ และควรเป็นครีมที่ปราศจากสารสเตียรอยด์ ซึ่งปัจจุบันก็มีครีมที่สกัดจากพืชธรรมชาติที่แพทย์ในโรงพยาบาลคลินิกแนะนำให้ใช้ ซึ่งผู้ใช้ต้องปรึกษาแพทย์และได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน

อย่างไรก็ดี มีผลการศึกษาที่น่าสนใจจากประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เด็กที่รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี จะมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดอาการคันที่ผิวหนัง อันเนื่องมาจากโรคผิวหนังอักเสบ โดยเด็กที่มีระดับของวิตามินอีในเลือดสูงมากๆ จะมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรคผิวหนังอักเสบถึงร้อยละ 67 เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีระดับของวิตามินอีในเลือดต่ำ แต่ไม่พบว่าจะสามารถช่วยต่อต้านอาการของโรคภูมิแพ้ได้ สำหรับวิตามินอีนั้น พบได้ในผลไม้ที่มีสีเหลือง แดง และส้ม ทั้งยังพบได้ในน้ำมันจากพืช ถั่ว และธัญพืชเต็มเมล็ดด้วย


ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000048376

วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

แนวทางสร้างทักษะการเข้าสังคม ให้ลูกแบบง่าย ๆ

เชื่อว่าคนเป็นพ่อแม่ทุก ๆ ท่าน คงไม่มีใครอยากเห็นลูกสุดที่รักเติบโตเป็นเด็กที่โดดเดี่ยว ไร้เพื่อน หรือไม่มีใครอยากมาเล่นด้วยกันหรอกนะครับ ใคร ๆ ก็อยากเห็นลูกมีความสุข และสนุกกับสังคมเล็ก ๆ ของเขาด้วยกันทั้งนั้น แต่ถ้าเด็กขาดการปลูกฝังทักษะการเข้าสังคมหรือการอยู่ร่วมกันในสังคม ทั้งตัวเด็ก คนรอบข้าง และสังคม รวมไปถึงประเทศชาติอาจเกิดปัญหาตามมาได้

วันนี้เรามีแนวทางสร้างทักษะการเข้าสังคมง่าย ๆ ให้ลูกจากงานรักลูกเฟสติวัล 2012 มาฝากเป็นแนวทางกัน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลยครับ

สำหรับลูกวัย 3 ปีแรก

- ให้เวลาพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มของชีวิต ลูกจะรู้สึกสนุกสนานกับการทำหน้าตาแบบต่าง ๆ ของคุณ สนุกกับการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับพ่อแม่

- พาลูกไปเยี่ยมญาติมิตร นอกจากพ่อแม่แล้ว ลูกควรได้มีโอกาสเรียนรู้สร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย เริ่มจากญาติพี่น้องใกล้ตัว และที่อยู่ห่างไกล ให้ลูกได้เล่นกับญาติพี่น้องที่เป็นเด็กด้วยกันหรือผู้ใหญ่ก็ตาม

- ช่วยลูกเมื่อลูกอยู่ในช่วงวัย "กลัวคนแปลกหน้า" ถ้าลูกกำลังมีอาการกลัวคนแปลกหน้า พ่อแม่อย่าพลอยเป็นกังวลไปด้วย หรือรู้สึกอายเมื่อลูกไม่ยอมให้ใครอุ้ม อาจจะอุ้มลูกกลับมาให้สงบสักพัก แล้วค่อยให้ผู้ใหญ่เล่นกับลูกในขณะที่คุณอุ้มหรืออยู่กับเขาจะดีกว่า หรือค่อย ๆ ให้ผู้ใหญ่สร้างความคุ้นเคยกับลูกทีละน้อย เมื่อเห็นว่าลูกคุ้นเคยดีแล้วก็ส่งให้คนอื่นอุ้มในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยที่คุณยังอยู่ใกล้ ๆ ด้วย

แต่ถ้าลูกไม่มีอาการกลัวคนแปลกหน้าแล้ว และสามารถเล่นกับคนอื่นได้บ้าง คุณอาจจะหลบออกมาให้พ้นสายตาลูกสักพัก ถ้าลูกยังร้องหาคุณก็ค่อยลองใหม่ภายหลัง หรือบางครั้งอาจเดินเข้าเดินออกจากห้องเพื่อให้ลูกมั่นใจว่า ถึงแม้แม่ไม่อยู่ แต่อีกเดี๋ยวก็คงกลับมา

- ช่วยลูกเรียนรู้มารยาทสังคมแบบง่าย ๆ สอนลูกให้รู้จักไหว้ กล่าวคำสวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ โบกมือบ๊ายบาย คุณพ่อคุณแม่ทำให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่างบ่อย ๆ จนลูกติดเป็นนิสัย ต่อไปเด็ก ๆ ก็จะทำได้เองโดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องสั่ง

- ช่วยลูกรู้เขารู้เรา ช่วงวัยเตาะแตะเป็นช่วงที่ลูกกำลังเรียนรู้ว่าตัวเองเป็นตัวตนที่แยกออกจากคนใกล้ชิดโดยเฉพาะพ่อแม่ พร้อมกับเริ่มเรียนรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวมีเจ้าของ บางอย่างเป็นของตัวเอง บางอย่างเป็นของคนอื่น เวลาเห็นลูกหยิบข้าวของคนอื่นมาเล่น หรือมาเป็นของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ค่อย ๆ หยิบออกจากมือลูกพร้อมกับอธิบายง่าย ๆ ว่า "นี่เป็นของพี่เขาครับ/ค่ะ" และ "นี่ของหนูจ้ะ"

ส่วนในเด็กวัย 3-6 ปี เป็นวัยที่เริ่มเปิดประตูเรียนรู้สังคมที่กว้างกว่าบ้าน และครอบครัวของตัวเอง เด็กวัยนี้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมโรงเรียนถึง 1 ใน 3 ของวัย เริ่มมีเพื่อนมากหน้าหลายตา ต้องปรับตัวกับหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งวัยนี้ทักษะการเข้าสังคมเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกฝนลูกได้โดยหมั่นถามความรู้สึกของเขาต่อเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้า และถ้าพวกคุณเองรู้สึกโกรธหรือไม่พอใจลูก คุณเองก็ควรบอกความรู้สึกของคุณไปตรง ๆ เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกรู้จักอารมณ์ตัวเอง และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรจะสอนให้ลูกเริ่มรู้จักที่จะให้ และรับอย่างเหมาะสมตั้งแต่เขายังเป็นเด็กเล็ก ๆ เพราะเวลาเข้าโรงเรียนแล้วเขาจะได้ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจที่จะแบ่งของเล่น หรือขนมให้เพื่อน ๆ เพราะไม่เช่นนั้น ลูกอาจกลายเป็นเด็กไม่รู้จักแบ่งปัน โอกาสที่เพื่อน ๆ จะตีตัวออกห่าง และไม่้อยากเล่นด้วย ย่อมมีได้สูง

แต่เหนือสิ่งอื่นใด คุณพ่อคุณแม่คือต้นแบบที่สำคัญ หากมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างไปในทิศทางลบให้ลูกเห็น เช่น ใช้ความรุนแรงกับแม่ ออกคำสั่ง หรือวางอำนาจมากเกินไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมซับในตัวเด็ก และถูกนำไปใช้กับผู้อื่นต่อไป โดยเฉพาะกับเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน เช่น โอ้อวดจนเกินพอดี บางคนอาจจะมีพฤติกรรมที่ชอบทำตัวอวดเบ่ง ชอบข่มเพื่อน ๆ ให้หงอไปตาม ๆ กัน บางคนจู้จี้สั่งคนรับใช้ที่บ้านได้ พอมาถึงโรงเรียนก็ใช้คำสั่งกับเพื่อน ๆ หรือบางคนชอบเล่นแรง ๆ ผลักหน้าเพื่อนหรือชกต่อยเพื่อนราวกับเป็นเรื่องปกติ เด็กแบบนี้จะถูกปฏิเสธจากเพื่อนไปโดยปริยาย และไม่มีใครอยากเข้ามาเล่นด้วย

ดังนั้น เด็กจะเติบโตเป็นคนที่รู้จักอยู่ หรือโดดเดี่ยว ไร้เพื่อน ขึ้นอยู่กับพ่อแม่เป็นต้นแบบ และผู้สอนที่สำคัญครับ



ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000042509

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

แม่เป็นไมเกรนลูกจะเป็น"โคลิค"



แม่เป็นไมเกรนลูกจะเป็น"โคลิค"

'โคลิค' ซึ่งเกิดขึ้นกับเด็กน้อยที่มีอายุระหว่าง 2-3 สัปดาห์ แต่จะหายไปเมื่อเด็กอายุเลยวัย 3 เดือนไปแล้ว เด็กที่เป็นโคลิคจะสังเกตได้ง่าย จากอาการหน้าแดง กำมือแน่น ยกขาชูสูงขึ้นมาถึงหน้าอก ร้องไห้เสียงดังนานราว 2-3 ชั่วโมง อาการมักเกิดขึ้นหลังการกินนมผ่านไป 15 นาที


สำหรับสาเหตุของอาการโคลิคนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่มักเชื่อว่า มีอากาศในท้องเด็กมากเกินไปโดยไม่ได้เรอออก ท้องของเด็กแน่นไปด้วยลมจนรู้สึกปวดท้อง นอกจากนี้ยังอาจเป็นเพราะลำไส้ของเด็กทำงานหนักเพื่อที่จะขับของเสียออกจนเริ่มเป็นตะคริว


ล่าสุด นักประสาทวิทยาในเด็ก ประจำศูนย์ศึกษาอาการปวดศีรษะ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก สหรัฐ นำโดย ดร.เอมี เกลแฟนด์ ออกมาเปิดเผยว่า คุณแม่ที่ในอดีตเคยมีประวัติปวดหัวไมเกรนมากกว่า 2 ครั้งต่อวันขึ้นไป มีส่วนทำให้ลูกน้อยวัยแบเบาะมีอาการโคลิค


จากกลุ่มตัวอย่าง แม่ 154 คน ที่มีลูกอ่อน พบว่า เด็กที่เป็นโคลิค ร้อยละ 29 มีแม่ที่เคยปวดหัวไมเกรน ขณะที่เด็กๆ อีกร้อยละ 11 ไม่เป็นโคลิคและแม่ของพวกเขาก็ไม่เคยปวดหัวไมเกรนมาก่อนด้วย


ไม่ใช่สำรวจแต่กับแม่เท่านั้น ทีมวิจัยยังสอบถามกับพ่อเด็ก ทำให้ทราบอีกว่า เด็กเป็นโคลิค ร้อยละ 22 มีพ่อที่เคยปวดหัวไมเกรน ส่วนเด็กที่ไม่เป็นโคลิค ร้อยละ 11 นั้น ป๊ะป๋าไม่เคยปวดหัวไมเกรนเช่นกัน


อย่างไรก็ตาม ผลของการวิจัยเรื่องดังกล่าวยังอยู่ในขั้นต้นเท่านั้น หากมีผลวิจัยลงลึกเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างอาการปวดหัวไมเกรนของแม่กับอาการโคลิคของลูกเพิ่มเติม มุมสุขภาพก็จะนำมาอัพเดทให้ทราบต่อไป แต่ระหว่างนี้ คุณแม่และคุณพ่อลูกอ่อนสามารถลองสำรวจอาการปวดไมเกรนของตนเอง แล้วดูสิว่า เจ้าตัวเล็กของคุณร้องไห้โยเยเข้าข่ายโคลิคหรือไม่.


ที่มา
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

8 กลยุทธ์สอนลูกให้ฉลาดรอบด้าน



8 กลยุทธ์สอนลูกให้ฉลาดรอบด้าน

เป็นธรรมดาของคนเป็นพ่อแม่ที่อยากเห็นลูกเติบโตเป็นเด็กฉลาด และอารมณ์ดี แต่คงต้องยอมรับด้วยว่า ในโลกใบนี้ไม่ได้ต้องการแค่คนที่เก่งด้านภาษา และคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่ยังต้องการคนที่ฉลาดในด้านอื่น ๆ เพื่อสร้างโลกให้สวยงามด้วย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ความรู้ผ่านหัวข้อ "พหุปัญญา 8 วิธีสร้างลูกฉลาดรอบด้าน และโภชนาการในช่วงแรกของชีวิต" ในงานแอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส (ประเทศไทย) เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า พ่อแม่ และครูควรค้นหาจุดเด่นของเด็กว่ามีความฉลาดทางด้านใดบ้าง แทนการยึดถือตามความเชื่อเดิม ๆ ที่นิยามว่า เด็กเก่ง คือ เด็กที่มีความฉลาดเพียงบางด้าน เช่น ด้านคณิคศาสตร์ ด้านภาษา

สอดรับกับทฤษฎีพหุปัญญาของดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่บ่งชี้ว่าเด็กแต่ละคนมีความสามารถต่างกันในแต่ละด้าน หากพ่อแม่ และครูค้นพบจุดเด่นของเด็กก็จะช่วยส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนสามารถพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้อย่างรวดเร็วขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจและอดทนที่จะสอนเด็กให้เหมาะกับสไตล์การเรียนรู้ของพวกเขา ถึงแม้อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เด็กควรได้รับการดูแลในรูปแบบที่แตกต่างกันตามจุดเด่นในแต่ละด้านดังต่อไปนี้

1. จุดเด่นของเด็กที่ฉลาดด้านภาษา

เด็กกลุ่มนี้จะมีความเข้าใจคำศัพท์และใช้ภาษาได้เป็นอย่างดี ใช้คำศัพท์ที่หลากหลาย เรียนรู้ไวยากรณ์ได้อย่างรวดเร็ว และนำไปใช้ได้ดี นอกจากนี้ พวกเขาชอบสนุกกับการต่อคำศัพท์ และเกมอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ในขณะเดียวกันก็ชื่นชอบโคลงกลอน เพลง และนิทานด้วย

หากพบว่าลูกมีจุดเด่นในด้านนี้ สิ่งที่พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น ควรให้เด็กเข้าถึงแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เช่น หนังสือ สารานุกรม หรือเว็บไซต์ หาเวลาอ่านหนังสือร่วมกันกับเด็ก และกระตุ้นให้เด็กถามคำถามทันทีที่สงสัย จากนั้นหาโอกาสให้เด็กนำเรื่องราวที่พวกเขาเคยอ่าน หรือฟังมาแล้วนำกลับมาเล่าใหม่ โดยให้พวกเขาแสดงเป็นตัวละครต่าง ๆ ในเรื่อง และคิดบทพูดให้เข้ากับสถานการณ์

2 จุดเด่นของเด็กที่ฉลาดด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ

เด็กกลุ่มนี้จะมีความเข้าใจเรื่องตัวเลขได้รวดเร็ว เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลได้ดี มีทักษะในการแก้ปัญหา และถ้าเผชิญสถานการณ์ที่ซับซ้อน เด็กสามารถแยกแยะจัดลำดับ และเข้าใจรูปแบบของสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น เด็กกลุ่มนี้มักจะชอบเล่นเกมที่ต้องแก้ปัญหาทุกชนิด

หากพบว่าลูกมีจุดเด่นในด้านนี้ สิ่งที่พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น ควรให้เด็กลองคิดหาเหตุผลเบื้องหลังสิ่งต่าง ๆ เช่น เกมปริศนาที่เกี่ยวกับตัวเลข มีการถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กใช้ความคิดอย่างต่อเนื่อง หรือช่วยให้เด็กแบ่งแยกสิ่งที่ได้เรียนรู้ออกมาเป็นหลายขั้นตอน

3. จุดเด่นของเด็กที่ฉลาดด้านดนตรี

เด็กกลุ่มนี้จะมีทักษะในการฟังที่ดีเยี่ยม สามารถแยกแยะความแตกต่างเล็ก ๆ น้อยได้อย่างง่ายดาย และมักหลงใหลในเสียงดนตรี และเสียงเพลง ที่สำคัญพวกเขาชอบทำให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นคำคล้องจอง หรือเป็นแบบแผน เช่น ใช้เทคนิคในการเรียนรู้ผ่านบทเพลง จังหวะ และคำกลอน

หากพบว่าลูกมีจุดเด่นในด้านนี้ สิ่งที่พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น ควรหาหนังสือที่มีเสียงสัมผัสให้ลูกได้อ่าน ส่งเสริมเขาให้เรียนรู้ และจดจำสิ่งต่าง ๆ เป็นเสียงดนตรี หาเกมเกี่ยวกับตัวเลข และรูปทรงมาให้เล่น หรือหารูปทรงต่าง ๆ ให้ลูกเรียนรู้ หรืออาจให้เด็กใช้ส้อมเสียง น้ำ ทราย หรือสิ่งรอบตัวมาทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันก็ได้

4. จุดเด่นของเด็กที่ฉลาดด้านร่างกาย

เด็กกลุ่มนี้จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางกายภาพได้ดี ชอบแสดงออก และสนุกกับกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะ และงานฝีมือ สามารถใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กได้อย่างยอดเยี่ยม และมักจะเคลื่อนไหวตลอดเวลาที่เรียนรู้จนอาจดูเหมือนนั่งนิ่ง ๆ ไม่ได้

หากพบว่าลูกมีจุดเด่นในด้านนี้ สิ่งที่พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น อาจหากิจกรรมที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย ใช้กล้ามเนื้อ สร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกายให้เด็กทำ เพราะถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยพัฒนาเด็กที่ฉลาดในด้านนี้ นอกจากนั้นควรให้โอกาสเด็กได้เดินคิดไปคิดมาและตัดสินใจด้วยตัวเองในขณะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งเด็กอาจจะรู้สึกลำบากมากหากต้องนั่งคิดนิ่ง ๆ อย่างเดียว


5. จุดเด่นของเด็กที่ฉลาดด้านมิติสัมพันธ์

เด็กกลุ่มนี้มัดคิดอะไรเป็นรูปภาพ สามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ในหัว และวิเคราะห์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถจินตนาการ และสร้างโลกใหม่ขึ้นมาในความคิด มีจินตนาการที่เปี่ยมล้น จดจำทิศทางได้ดี และอ่านแผ่นที่เก่ง

หากพบว่าลูกมีจุดเด่นในด้านนี้ สิ่งที่พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น ควรหาหนังสือที่มีรูปภาพเยอะ ๆ ให้เด็กอ่าน เวลาอ่านหนังสือให้เด็กฟังควรเน้นให้เด็กสังเกตเห็นภาพ และเชื่อมโยงภาพนั้นกับคำที่คุณอ่าน หรืออาจจะหาของเล่น ไม่ว่าจะเป็นดินน้ำมัน กระดาษ ลูกบอล และตัวต่อ หรือใช้ภาพในการอธิบายสิ่งต่าง ๆ แทนที่จะพูดเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ หากต้องเดินทางไปนอกบ้านด้วยกันก็ควรชี้ให้เด็กสังเกตเห็น และจดจำสิ่งของหรือสถานที่ต่าง ๆ ตลอดทาง

6. จุดเด่นของเด็กที่ฉลาดด้านมนุษยสัมพันธ์

เด็กกลุ่มนี้มักจะชอบอยู่กับคนอื่น และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ชอบเล่นเป็นกลุ่ม สามารถนำผู้อื่นได้ดี และที่สำคัญจะมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

หากพบว่าลูกมีจุดเด่นในด้านนี้ สิ่งที่พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย หรือทำงานร่วมกับผู้อื่น จัดกิจกรรมให้เด็กได้พบปะสังสรรค์กัน โดยเฉพาะการทำความรู้จักกับเด็กคนอื่นที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขาเรียนรู้ถึงบทบาท และความสามารถของผู้อื่น นอกจากนี้ เวลาอธิบายอะไรให้เด็กฟัง ควรอธิบายเป็นเรื่องราวที่มีตัวละครหลาย ๆ ตัว หรือขณะเดินทางไปนอกบ้าน ควรชี้ให้เด็กสังเกตผู้คนรอบ ๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม และอาชีพที่แต่ละคนกำลังทำ

7. จุดเด่นของเด็กที่ฉลาดด้านความเข้าใจตัวเอง

เด็กกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มีความมั่นใจในตัวเอง และมักจะชอบทำสิ่งต่าง ๆ ตามสัญชาตญาณของตัวเอง อีกทั้งยังชอบริเริ่มทำสิ่งต่าง ๆ ได้เอง และสามารถทำงานเพียงลำพังได้โดยไม่พึ่งใคร นอกจากนี้ยังเก่งในการทำงานให้ถึงเป้าหมาย มีความชัดเจนว่าตัวเองชอบ หรือไม่ชอบอะไร

หากพบว่าลูกมีจุดเด่นในด้านนี้ สิ่งที่พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ และไตร่ตรองสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ควรชี้แนะเด็กให้เข้าใจว่า สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้นั้นมีความเชื่อมโยงกับพวกเขาอย่างไร แต่ควรให้เด็กเลือกทำ หรือวางแผนสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ไม่ควรบีบบังคับ หรือก้าวก่ายความคิดของเด็ก ๆ ในขณะที่พวกเขากำลังเรียนรู้ ควรให้เด็กมีพื้นที่ส่วนตัว เพื่อคิดไตร่ตรองในการเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ ด้วย

8. จุดเด่นของเด็กที่ฉลาดด้านรู้จักธรรมชาติ

เป็นความฉลาดที่เด็กสามารถจดจำ และเข้าใจธรรมชาติรอบตัวได้ดี ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะชอบสำรวจธรรมชาติ และพยายามสังเกตเห็นรูปแบบ คุณลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เป็นเด็กชอบจัดระบบสิ่งของที่สะสมไว้ เก็บรายละเอียดสิ่งต่าง ๆ ได้ดี และมักจะมีความสามารถในการแยกแยะระหว่างสิ่งของในหมวดเดียวกัน และสังเกตเห็นความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้

หากพบว่าลูกมีจุดเด่นในด้านนี้ สิ่งที่พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น ควรส่งเสริมให้เด็กอยู่กับธรรมชาติ รู้จักจัดการ ค้นหา พร้อมทั้งเชื่อมโยงธรรมชาติให้เข้ากับทุกอย่างที่เด็กเรียนรู้ นอกจากนี้ควรส่งเสริมวิธีคิดให้เด็ก ๆ ได้คิดว่า สิ่งต่าง ๆ ที่พวกเขาเรียนรู้นั้นมีผลต่อโลกนี้อย่างไร จากนั้นพยายามให้ข้อมูลด้านต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็กจดจำข้อมูลเกี่ยวกับโลกรอบ ๆ ตัว โดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ

ถึงเวลาแล้วที่พ่อแม่ และผู้ใหญ่ในสังคมควรเปลี่ยนมุมมองการเลี้ยงลูกจากเดิมที่ยึดติดว่า "ลูกต้องเรียนเก่ง" เป็น "ลูกเก่งด้านไหนใน 8 ด้าน" แทน เพราะโลกนี้ไม่ได้ต้องการคนที่เก่งด้านภาษา และคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่ยังต้องการคนที่เก่งด้านอื่น ๆ อย่างนักดนตรี และศิลปินมาเป็นผู้สร้างสรรค์ให้โลกสวยงามด้วย


ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000017593