วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 21-24

ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 21-24


ช่วงนี้มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นมา สามารถคลำได้ระดับสะดือ หรือต่ำกว่าระดับสะดือเล็กน้อย ผิวหนังหน้าท้องของคุณแม่จะถูกยืดมาก ลำไส้ใหญ่ถูกเบียดจากมดลูกที่ใหญ่ขึ้น คุณแม่บางคนอาจมีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ มีอาการท้องผูก เมื่อไปตรวจครรภ์ คุณหมอสามารถได้ยินเสียง หัวใจของลูกน้อยของคุณเต้น โดยการใช้หูฟัง ฟังทางหน้าท้องได้ ระหว่างการตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 18-20 สัปดาห์

ลูกน้อยระยะนี้ จะดิ้น แตะ หันตัวจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง เขามีน้ำหนักตัวประมาณ 300-450 กรัม ยาวประมาณ 20-30 ซ.ม. มีเล็บมือ เล็บเท้า เขานอนและดิ้นเป็นเวลา เผลอๆหนูน้อยก็จะดูดนิ้วมือเล่น อวัยวะต่างๆเติบโตอย่างรวดเร็ว และพัฒนาด้านโครงสร้าง และการทำหน้าที่ได้มากขึ้น

การเปลี่ยนแปลง ของร่างกายแม่ คุณจะเห็นได้ว่า หญิงที่ตั้งครรภ์จะดูออกว่าท้อง เมื่ออายุครรภ์เข้า 4 เดือน หรืออาจจะน้อย กว่านั้น ถ้าเป็นท้องที่สอง ขนาดของท้องที่โตขึ้น จะสท้อนให้เห็น ถึงขนาดของเด็กในท้อง แพทย์จะตรวจดูขนาดของท้องที่โตขึ้น เพื่อดูการเจริญเติบโตของเด็ก มดลูกก็จะขยายเต็มที่ แต่เมื่อคลอดแล้ว ก็จะหดกลับไปสู่ขนาดปกติ

ปัญหา เล็กๆน้อยๆในช่วงตั้งครรภ์

ความไม่สบายตัว อึดอัด เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องทำใจ ว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดกับทุกคน แล้วเขาก็ผ่านไปได้ไม่ยาก

การเปลี่ยนแปลงที่อื่นๆ นอกจากท้องจะเพิ่มขนาดขึ้นทุกวัน ได้แก่

ตกขาว

ตกขาวจะมีมากขึ้นตลอดช่วงตั้งครรภ์ ควรเลือดชุดชั้นในที่เป็นผ้าฝ้าย จะได้ซึมซับได้ดี ควรรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และขาหนีบ ให้สะอาดและซับให้แห้งเสมอ ถ้าทิ้งไว้ อาจมีอาการคัน ถ้าคันมากควรให้สูติแพทย์ตรวจ ส่วนเรื่องการสวนล้างช่องคลอด ไม่แนะนำให้ทำนะคะ เพราะถ้าทำไม่สะอาด อาจมีการติดเชื้อได้

หลอดเลือดโป่ง หรือเส้นเลือดขอด (Varicose vein) จะปรากฎที่ขา โดยมากที่น่อง เส้นเลือดขอดเป็นผลมาจาก เลือดบริเวณขา และปลายเท้าไหลกับเข้าหลอดเลือดดำใหญ่ และไหลเข้าสู่หัวใจไม่สะดวก หรืออีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากพันธุกรรม หรือคุณแม่มีน้ำหนักขึ้นมากขณะตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถลดการเกิดเส้นเลือดขอดได้ โดยการเปลี่ยนท่านั่ง ถ้าต้องนั่งนานๆ ควรมีม้านั่งเตี้ยๆรองขาทั้งสองข้าง พยายามไม่นั่งไขว่ห้าง ถ้าต้องยืนนานๆ ควรขยับข้อเท้าไปมาก และเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ เกร็งกล้ามเนื้อขา เพื่อให้กล้ามเนื้อบีบเลือดดำให้ไหลกลับ เข้าสู่หัวใจ พยายามไม่ลงน้ำหนักที่ขาอย่างน้อย 15 นาที ทุก 2 ชั่วโมง

เจ็บแสบที่ยอดอก (Heart Burn)

เกิดจากเมื่อตั้งท้อง มดลูกมีขนาดโตขึ้น กระเพาะอาหารที่อยู่ด้านบน จะถูกมดลูกดัน ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับ เข้าไปในหลอดอาหาร เกิดการระคายเคืองหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการเจ็บแสบ เหมือนโรคกระเพาะ แต่มาเกิดที่ยอดอกแทน การแก้ไข โดยรับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยๆ งดอาหารที่มีไขมัน พวกของทอดและอาหารรสจัด อาจจะดื่มนมพร่องมันเนย ซึ่งจะช่วยลดอาการได้บ้าง ถ้ายังมีอาการอยู่ ควรรับประทานยาลดกรด ก่อนนอน ซึ่งยานี้ควรได้รับการสั่งจากสูติแพทย์ ไม่ควรหาซื้อกินเองตามร้ายขายยานะคะ

ท้องผูก

อาการท้องผูกเกิดจาก ฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหว บีบตัวน้อยลง คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีกากสูง เช่น ผัก ข้าวซ้อมมือ ผลไม้ เม็ดแมงลัก และลูกพรุน ที่สำคัญควรออกกำลังกาย อาจจะออกด้วยการเดินก็จะดีมาก

ริดสิดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร คือ หลอดเลือดที่โป่งเหมือนเส้นเลือดขอด แต่เกิดบริเวณทวารหนัก ซึ่งจะเป็นมากขึ้น เมื่อท้องผูก ต้องเบ่งอุจจาระนาน ถ้าเจ็บมากควรนั่งแช่น้ำอุ่น หรือ นั่งบนหมอนนิ่มๆ และถ้าทนเจ็บไม่ไหว ก็อาจปรึกษากับสูติแพทย์เพื่อรับยาเหน็บมาเหน็บ

ปวดหลัง

เมื่อท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น คุณมักจะต้องแอ่นหลัง ทำให้ปวดกล้ามเนื้อหลัง พยายามเดินตัวตรง ศีรษะตรง และหดท้องเข้ามา ควรใส่รองเท้าส้นเตี้ย ถ้าคุณต้องยกของหนัก หรืออุ้มลูกคนก่อน ควรย่อเข่าลง อย่าก้มลงไปหยิบ หรืออุ้ม จะทำให้ปวดหลังมากขึ้น

ตะคริว

เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่มักเป็นตะคริวตอนกลางคืน เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่น่อง ถ้าคุณแม่ดื่มนม หรือรับประทานโยเกิร์ต ตามที่แนะนำข้างต้น แล้วอาการตะคริวก็จะเป็นน้อยลง หรือไม่เป็นเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น