วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 33-36

ดูแลครรภ์สัปดาห์ที่ 33-36


เมื่อตั้งท้องได้ 8 เดือน ดูเหมือนว่าท้องจะโตเต็มที่ ยอดของมดลูกดันอยู่ที่ยอดอก แถวลิ้นปี่ คุณอาจรู้สึกหายใจไม่อิ่ม อึดอัด แล้วยังมีปวดหลัง และปวดหน้าท้อง เพราะลูกเติบโตขนาดตัวใหญ่ขึ้น อาการเจ็บท้องเตือนจะเพิ่มความรุนแรง และความถี่ขึ้น เป็นการฝึกบีบตัวคลอดของมดลูก เต้านมก็ฝึกผลิตน้ำนม เห็นได้จากที่หัวน้ำนม ซึมออกมาจากเต้านมทางหัวนม ท้องที่โตมากในระยะนี้ เป็นอุปสรรคต่อท่าการนอนของคุณแม่ คุณแม่จะหาท่าที่สามารถนอนได้สบายได้ยาก ทนอีกสักหน่อย ลูกของคุณเกือบพร้อมที่จะออกมาชมโลกแล้ว ถ้าอึดอัดมากก็ลองนอนตะแคง ขาข้างหนึ่งทับซ้อนอีกข้างหนึ่งดูซิคะ อาจจะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ถ้ายังไม่ดี อาจจะใช้หมอนสอดระหว่างขา จะทำให้สบาย และยังช่วยลดอาการบวมที่ข้อเท้าและเท้าได้อีกด้วย

ทารกที่สมบูรณ์ จะเคลื่อนไหว จะแตะแรงขึ้น หน้าท้องโป่ง แหลม จะพอจะเดาได้ว่า เป็นศอก หรือส้นเท้าที่ลูกยกมายันที่หน้าท้องแม่ กระดูกของลูกจะแข็งมากขึ้น กระดูกที่ศีรษะจะแตกต่างจากกระดูกที่อื่นๆ คือ นิ่ม และยืดหยุ่นได้พอสมควร เล็บลูกน้อยจะยาวเกินปลายนิ้ว ทารกเพศชาย จะพบว่าลูกอัณฑะเคลื่อนตัวจากช่องท้องลงมาอยู่ใน ถุงอัณฑะแล้ว ขณะอยู่ในท้อง ทารกอาจจะสะอึกได้ จนแม่รู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหวแบบกระตุกๆ

น้ำหนักตัวจะประมาณ 2000-2300 กรัม และลำตัวยาวประมาณ 42-45 ซ.ม.

เตรียมตัวคลอด

คุณแม่มีใจจดจ่อกับลูกน้อย ที่กำลังจะเกิด คุณแม่อาจไปเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การฝึกคลอด จัดเตรียมบ้านเพื่อต้อนรับสมาชิกคนใหม่ การหาคนช่วยเลี้ยงลูก คนที่เป็นเพื่อนและช่วยเหลือหลังคลอด และแม้แต่สถานฝากเลี้ยงลูกเมื่อตอนต้องกลับไปทำงาน ก็ควรเตรียมหาเอาไว้ตั้งแต่ช่วงนี้ เพราะเมื่อลูกคลอดออกมาแล้วคุณแม่จะยุ่งมาก จนไม่มีเวลา

ปรึกษาสูติแพทย์ ถึงสถานที่ ที่จะคลอด วิธีการคลอด ฝึกหัดหายใจ จังหวะการเบ่ง เอาไว้ ถ้าคุณต้องการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ ที่สำคัญ อย่าลืมเตรียมเต้านม เพื่อให้นมลูก

การออกกำลังกายด้วยการเดิน จะทำให้คุณคลอดง่ายขึ้น เพราะกล้ามเนื้อได้ออกกำลัง ทำให้มีแรงเบ่งคลอดค่ะ

ในทารกอายุ 8 เดือน จะเห็นได้ว่า มีผมขึ้นแล้ว ปอดของเด็กในช่วงนี้ จะเจริญเต็มที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น