วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ท้องนอกมดลูกและการป้องกัน

ท้องนอกมดลูก ป้องกันได้



ภาพจาก http://www.healthtoday.net/thailand/images1/issue83/women_832.jpg


การท้องนอกมดลูกนั้นความจริงแล้วพบได้น้อยมากประมาณร้อยละ 1 ของการตั้งครรภ์เท่านั้น และโดยมากมักจะตรวจพบในระยะต้นๆ ของการตั้งครรภ์ ซึ่งมักจะมีอาการผิดปกติปรากฏออกมาในระยะต้นๆ ดังนั้นหากไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็สามารถสบายใจได้ว่าปลอดภัยจากการท้องนอกมดลูก แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้คุณแม่เกิดการท้องนอกมดลูกได้

ปัจจัยที่จะเสริมที่จะทำให้มีโอกาสท้องนอกมดลูกได้แก่

1. มีประวัติการท้องนอกมดลูกมาก่อน
2. เคยเจ็บป่วยด้วยภาวะการอักเสบของอุ้งเชิงกราน
3. เคยผ่าตัดเกี่ยวกับช่องท้องโดยเฉพาะรังไข่
4. เคยทำหมัน หรือผ่าตัดแก้ทำหมัน
5. ใช้วิธีคุมกำเนิดแบบใช้ห่วงอนามัย และตั้งครรภ์ในขณะที่ใช้ห่วง
6. มีประวัติทำแท้ง
7. มีประวัติได้รับสาร DES (สารที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง) ในโพรงมดลูก จนทำให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างระบบอวัยวะสืบพันธุ์

อาการที่สังเกตุได้ว่าอาจจะเกิดการท้องนอกมดลูก

1. อาการบิดเกร็ง และกดเจ็บบริเวณท้องน้อยด้านใดด้านหนึ่ง แลปวดแผ่กระจายไปทั่วท้องน้อย อาการปวดรุนแรงขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวรุนแรง แล้วค่อยๆ หายไป เหลือแต่การปวดระบมบริเวณอุ้งเชิงกราน
2. มีเลือดสีน้ำตาลจางๆ ไหลออกทางช่องคลอด อาจมีเลือดสดบ้างเล็กน้อย จะเป็นๆ หายๆ ไม่ต่อเนื่อง เกิดร่วมกับการปวดท้อง แต่บางคนก็อาจไม่มีอาการเลือดออกเลย
3. มีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างมาก ในกรณีนี้อาจมีการฉีกขาดของท่อนำไข่
อ่อนเพลีย เวียนหัว โดยเฉพาะกรณีที่ท่อนำไข่ฉีกขาดจะอ่อนเพลียมากขึ้น ผิวหนังเย็น ชีพจรเต้นเร้ว และเป็นลม
4. บางคนมีอาการปวดร้าวที่ไหล่ด้านหลัง หรือบางคนปวดตื้อๆ ที่ทวารหนัก

หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยทันที ซึ่งเมื่อรักษาหายแล้ว ก็สามารถตั้งครรภ์ได้


ที่มา
http://www.babytrick.com/before-pregnancy/ectopic-pregnancy.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น